Basic Barista & Latte Art Course


คอร์สศิลปะการทำกาแฟ (Barista) ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจร้านกาแฟ หรือผู้ที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นบาริสต้ามืออาชีพ มุ่งเน้นถ่ายทอดเนื้อหา เทคนิควิธีการชงกาแฟ พร้อมหัวใจสำคัญที่จะทำให้ได้กาแฟเอสเพรสโซ่คุณภาพดี เพื่อการทำเครื่องดื่มกาแฟประเภทต่าง ๆ

Basic Barista

Latte Art

Basic Barista Course


รายละเอียด
- เรียนรู้สายพันธุ์กาแฟที่ส่งผลต่อรสชาติกาแฟ Arabica VS Robusta ชิมความแตกต่าง
- เรียนรู้กาแฟ process ต่างๆ (wash/natural/honey)
- Coffee Region/coffee belt/กาแฟแต่ละทวีป
- Roasting Process การคั่วแต่ละชนิด
- เรียนรู้เรื่องอุปกรณ์ในบาร์กาแฟทั้งหมด
- การสกัด Espresso อย่างถูกวิธี
- การสตรีมนมตามมาตราฐานและอุณภูมิที่เหมาะสมสำหรับการชงเมนูร้อนอีกทั้งเพื่อให้ได้ฟองนมที่มีคุณภาพ
- การเท Latte Art เบื้องต้น
- เมนูร้อนและเย็นเบื้องต้น
- การสร้างสรรค์เมนูด้วยตัวเอง
- การดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องชงกาแฟ
- วิธีการคำนวนต้นทุนของเครื่องดื่ม
- การหาจุดคุ้มทุน Break even point ทางธุรกิจ
- สรุปเนื้อหาการเรียน และรับใบประกาศ

Basic Latte Art


รายละเอียด
- การสตรีมนมที่ถูกต้อง และอุณภูมิต่างๆ ที่มีผลต่อการเทลาเต้อาร์ท เช่นกรณีที่ฟองนมหนาหรือบางเกินไปมีผลกับการเทอย่างไรบ้าง
- การใช้เครื่องชงกาแฟและอุปกรณ์ต่างๆในบาร์
- เทคนิคการสกัดช็อตกาแฟให้เหมาะสมกับการเท
- ท่าการจับเหยือก จับแบบไหนเพื่อให้ตรงตามความถนัดของตัวเอง
- แก้วแบบไหนที่เหมาะสำหรับการเทลาเต้อาร์ต
- การจับแก้ว องศาการเท เอียงเยอะไปหรือเอียงน้อย ไปมีผลอย่างไร
- การ Mix นมเข้ากับกาแฟ เพื่อลายที่เด่นชัด (Contrast)
- การเลือกใช้พิชเชอร์ที่ถูกประเภท ปากพิชเชอร์แต่ละทรงมีผลอย่างไร
- องศาการยืนที่ถูกต้อง
- อายุของเมล็ดกาแฟมีผลอย่างไร เช่น คั่วใหม่หรือคั่วนานแล้ว

รายละเอียดการเรียน


• ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกาแฟ และโปรเซสต่างๆ
• การเลือกใช้เมล็ดกาแฟ ตามระดับการคั่ว
• ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการสกัดช็อต Espresso
• หลักการสตีมนมที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้ฟองนมที่มีคุณภาพ
• การปรับความละเอียดเครื่องบดกาแฟ
• การตั้งระดับน้ำเครื่องชงกาแฟให้เหมาะสม
• สอนชงกาแฟตามเมนูสากล และเมนูร้อน เย็น ปั่นอื่นๆ
• นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ชิม และวิเคราะห์เองทั้งหมด
• สอนการเทลาเต้อาร์ต ลายหัวใจ ทิวลิป โรเซ็ตต้า
• การล้างเครื่อง และบำรุงรักษาเครื่องชง เครื่องบด
• การคำนวณต้นทุน และสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้าน

ประกอบธุรกิจได้จริงจากประสบการณ์ผู้สอนระดับประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม


TEL : 062-632-5555

@Chonlateecoffee

พิษณุโลก เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคกลางตอนบนหรือภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 866,891 คน มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 9 อำเภอ มีเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเขตเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด เป็นจังหวัดเดียวของภาคกลางที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลา

 

ประวัติศาสตร์

พบแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ภาพสลักบนหินที่ถ้ำกาและผาขีดเขาภูขัด อำเภอนครไทย และภาพสลักหินที่ผากระดานเลข อำเภอชาติตระการ ซึ่งภาพสลักหินเหล่านี้อยู่ในยุคโลหะมีอายุประมาณสี่พันปีก่อน

จดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวถึงพระเจ้าพนมไชยศิริอพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่นครไทย อาจหมายถึงพระเจ้าชัยศิริแห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสนซึ่งเผชิญกับการรุกรานของอาณาจักรสุธรรมวดีอพยพลงมาทางใต้ (ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าอพยพไปกำแพงเพชร) แหล่งโบราณคดีนครไทยเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย ในสมัยขอมโบราณมีชุมชนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองพิษณุโลกในปัจจุบันบริเวณวัดจุฬามณีคือเมืองสองแควเดิม พระปรางค์วัดจุฬามณีสร้างขึ้นในสมัยขอม ต่อมาพ่อขุนบางกลางหาวแห่งเมืองบางยางร่วมมือกับพ่อขุนผาเมืองแห่งเมืองราดขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากภูมิภาคนำไปสู่การกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าเมืองบางยางคือเมืองนครไทย

 

สมัยสุโขทัย

เมืองพิษณุโลกเดิมมีชื่อต่าง ๆ กัน ปรากฏชื่อเมือง "สองแคว" ในจารึกวัดศรีชุม "พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีเกิดในนครสรลวงสองแคว" ชื่อเมืองสองแควหมายถึงเมืองซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย ในช่วงต้นสมัยสุโขทัยเมืองสองแควอยู่ในการปกครองของพระยาคำแหงพระรามแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม จนกระทั่งรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเมืองสองแควเข้ามาอยู่ในการปกครองของสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงดังที่ระบุไว้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ในพงศาวดารเหนือระบุว่า "พระเจ้าศรีธรรมปิฎก"หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านบริเวณเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน พระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างวัดต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมากได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดเจดีย์ยอดทอง วัดอรัญญิก และบูรณะวัดวัดราชบูรณะ ทรงให้หล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดาขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดใหญ่ พระพุทธชินราชซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุใช้เป็นตราประจำจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาลิไทยังทรงสร้างพระราชวังจันทน์ เมืองสองแควพัฒนาขึ้นกลายเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรสุโขทัยทางทิศตะวันออก

นอกจากนี้เมืองสองแควยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองชัยนาท" หมายถึงเมืองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านบริเวณพระราชวังจันทน์ ขุนหลวงพะงั่วยกทัพอยุธยาขึ้นมายึดเมืองชัยนาทได้สำเร็จ จนพระมหาธรรมราชาลิไทจำต้องเจรจากับพระเจ้าอู่ทองสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เพื่อขอเมืองชัยนาทคืน ทำให้พระมหาธรรมราชาลิไทต้องเสด็จย้ายมาประทับที่เมืองสองแควหรือเมืองชัยนาทอยู่เป็นเวลาเจ็ดปี พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองสองแคว ทำให้เมืองสองแควกลายเป็นราชธานีของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) สวรรคตในพ.ศ. 1962 เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยารามและพระยาบาลเมือง สมเด็จพระนครินทราธิราชแห่งอยุธยาเสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ย ให้พระยารามครองเมืองสุโขทัยในขณะที่พระยาบาลเมืองขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 แห่งสองแคว ทำให้เมืองสองแควแยกตัวจากสุโขทัยและเป็นประเทศราชของอยุธยา เมืองสองแควทวีความสำคัญขึ้นมามากกว่าสุโขทัย

เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 สวรรคตในพ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 ทรงส่งพระโอรสคือพระราเมศวรซึ่งมีพระราชมารดาเป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ไปครองเมืองสองแควประทับที่พระราชวังจันทน์ เมื่อพระราเมศวรต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองสองแควจึงได้รวมกับอาณาจักรอยุธยา

 

สมัยอยุธยา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแต่งตั้งให้พระยายุทธิษเฐียรซึ่งเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 4 เป็น "พระยาสองแคว" เป็นเจ้าเมืองอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา แต่พระยายุทธิษเฐียรคิดตั้งตนขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาจึงหันไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา นำไปสู่สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถย้ายมาประทับที่เมืองสองแควในพ.ศ. 2006 เมื่อตั้งรับศึกกับล้านนาและทรงผนวชที่วัดจุฬามณีในพ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงรวมเมืองฝั่งตะวันออกและเมืองชัยนาทฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านเข้าด้วยกันแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว ปรากฏชื่อเมือง "พิษณุโลก" ขึ้นครั้งแรกในลิลิตยวนพ่าย

หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองของอยุธยาในหัวเมืองเหนือ โดยมีพระมหาอุปราชซึ่งเป็นพระราชโอรสทรงครองเมืองและประทับอยู่ที่พระราชวังจันทน์ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตพระเชษฐาพระโอรสเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาพระเชษฐาได้ราชสมบัติอยุธยาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้พระโอรสคือพระไชยราชาให้ครองเมืองพิษณุโลก พระไชยราชายึดอำนาจจากพระรัษฎาธิราชขึ้นเป็นสมเด็จพระไชยราชาธิราช จากนั้นไม่มีการตั้งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อขุนพิเรนทรเทพยึดอำนาจจากขุนวรวงศาธิราชในพ.ศ. 2091 และเชิญสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพให้เป็นพระมหาธรรมราชาปกครองเมืองพิษณุโลก ทำให้เมืองพิษณุโลกมี "พระมหาธรรมราชา" มาปกครองอีกครั้ง พระวิสุทธิกษัตริย์ทรงสร้างวัดนางพญา

เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่ายกทัพมาประชิดเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2106 พระมหาธรรมราชายอมจำนนต่อพระเจ้าบุเรงนองทำให้พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดกลายเป็นประเทศราชของพม่า สมเด็จพระมหินทราธิราชแห่งอยุธยาทรงร่วมมือกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างร่วมกันยกทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกในแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งพระเจ้าบุเรงนองตั้งให้พระมหาธรรมราชาครองอยุธยา

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงตั้งให้พระโอรสคือสมเด็จพระนเรศวรขึ้นเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลกอีกครั้งในพ.ศ. 2114 ประทับที่พระราชวังจันทน์ ตามข้อสันนิษฐานของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในปีพ.ศ. 2127 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกทำให้ "เกิดเหตุอัศจรรย์แม่น้ำซายหัวเมืองพิษณุโลกนั้น ป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นนั้นสามศอก" เมืองพิษณุโลกอาจเสียหายมาก หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้วจึงมีพระราชโองการให้ "เทครัว" กวาดต้อนผู้คนในหัวเมืองเหนือทั้งหมดรวมถึงพิษณุโลกลงมายังภาคกลางตอนล่างเพื่อเตรียมการรับศึกกับพม่า ทำให้เมืองพิษณุโลกกลายเป็นเมืองร้างอยู่เป็นเวลาแปดปี จนกระทั่งหลังจากเสร็จสิ้นสงครามยุทธหัตถีแล้วสมเด็จพระนเรศวรฯจึงทรงฟื้นฟูเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2136 โดยการแต่งตั้งให้พระชัยบุรี หรือพระยาชัยบูรณ์ เป็นพระยาสุรสีห์ฯเจ้าเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกเปลี่ยนฐานะจากเมืองของพระมหาอุปราชมาเป็นเมืองชั้นเอกมีขุนนางเป็นเจ้าเมือง ปรากฏราชทินนามของเจ้าเมืองพิษณุโลกว่า เจ้าพระยาสุรสีห์พิศมาธิราช ชาติพัทยาธิเบศราธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ หรือ "เจ้าพระยาพิษณุโลกเอกอุ" ศักดินา 10,000 ไร่ เมืองพิษณุโลกหัวเมืองชั้นเอกฝ่ายเหนือของอยุธยาคู่กับเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองเอกฝ่ายใต้

สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชในพ.ศ. 2146 พร้อมทั้งโปรดฯให้นำทองนพคุณมาปิดทองพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปสำริด เป็นการปิดทององค์พระพุทธชินราชครั้งแรก ในพ.ศ. 2205 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลังจากเสร็จสิ้นศึกเชียงใหม่ทรงนมัสการพระพุทธชินราช และโปรดฯให้สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อพ.ศ. 2222 ประดิษฐานไว้ ที่วัดจุฬามณี ในรัชสมัยพระเพทราชามีการปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองฝ่ายเหนือรวมถึงเมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของสมุหนายก ในพ.ศ. 2309 เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่ายกทัพเข้ายึดเมืองสุโขทัย เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นำทัพพิษณุโลกเข้ากอบกู้เมืองสุโขทัย เจ้าฟ้าจีดเสด็จหลบหนีจากกรุงศรีอยุธยามายึดอำนาจที่เมืองพิษณุโลก ทำให้เจ้าพระยาพิษณุโลกต้องเลิกทัพจากสุโขทัยกลับไปยึดอำนาจคืนจากเจ้าฟ้าจีด และทัพพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยาได้โดยไม่ยึดเมืองพิษณุโลก

 

สมัยธนบุรี

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าชุมนุมพิษณุโลกมีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์และปากน้ำโพ ในพ.ศ. 2311 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้าพิษณุโลกพระเจ้าแผ่นดิน หลังจากนั้นอีกเจ็ดวัน หรือหกเดือนจึงถึงแก่พิราลัย พระอินทร์อากรน้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกขึ้นเป็นผู้นำชุมนุมพิษณุโลกต่อมา แต่ชุมนุมเจ้าพระฝางเข้ายึดชุมนุมพิษณุโลกประหารชีวิตพระอินทร์อากรและกวาดต้อนทรัพย์สินผู้คนไปยังเมืองสวางคบุรี เมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของชุมนุมเจ้าพระฝางจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าพระยายมราช (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยกทัพขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกได้สำเร็จในพ.ศ. 2313 ทำให้พิษณุโลกเข้ามาอยู่การปกครองของธนบุรีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยายมราช (บุญมา) เป็น "เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชฯ" ปกครองเมืองพิษณุโลก

ในพ.ศ. 2318 ในขณะที่เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯกำลังทำศึกที่เมืองเชียงแสนนั้น แม่ทัพพม่าอะแซหวุ่นกี้ยกทัพเข้ามาผ่านด่านแม่ละเมาแขวงเมืองตากเข้ารุกรานเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์เร่งทัพลงมาป้องกันเมืองพิษณุโลก อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่นานสี่เดือนและตัดเส้นทางเสบียงทำให้เมืองพิษณุโลกขาดแคลนอาหาร อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระเจ้าพระยาจักรีที่เนินดินซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันอยู่ที่หน้าสำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลกเดิมซึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์พิจารณาว่าศึกครั้งนี้ไม่สามารถต้านได้จึงฝ่าวงล้อมของศัตรูออกไปตั้งมั่นที่เพชรบูรณ์ อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าปล้นสะดมเผาทำลายเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงโดยส่วนใหญ่ ทำลายพระราชวังจันทน์ เหลือเพียงพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งไม่ถูกทำลาย

 

สมัยรัตนโกสินทร์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2325 จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้ "หลวงนรา" เป็น "พระยาพิษณุโลก" ในพ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ แม่ทัพพม่าเนเมียวสีหซุยยกทัพจากลำปางลงมารุกรานหัวเมืองเหนือ หลวงนราพระยาพิษณุโลกเห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากฝ่ายหัวเมืองเหนือมีกำลังน้อยจากการสูญเสียกำลังพลไปมากในสงครามอะแซหวุ่นกี้ จึงสละเมืองพิษณุโลกหลบหนีเข้าป่าไม่ได้ต่อสู้ต้านทานการรุกรานของพม่า ทัพพม่าจึงเดินทัพผ่านหัวเมืองเหนือลงไปยังนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกลง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น เมืองพิษณุโลกซึ่งเผชิญกับศึกสงครามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณยี่สิบปีอยู่ในสภาวะทรุดโทรมและขาดการทำนุบำรุง ในพ.ศ. 2372 กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปยังวัดบางอ้อยช้าง (ซึ่งต่อมาพระศรีศาสดาได้ไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศฯ)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องพระพุทธชินราชว่า "...จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว" มีพระราชดำริอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปเป็นองค์ประธานของวัดเบญจมบพิตร ปรากฏเรื่องเล่ามุขปาฐะว่าในการอัญเชิญพระพุทธชินราชนั้นเกิดเหตุอัศจรรย์ไม่สามารถนำพระพุทธชินราชลงแพได้ หรือเมื่อเข็นลงแพแล้วแพหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว จึงไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปยังกรุงเทพได้และประดิษฐานในเมืองพิษณุโลกดังเดิม มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกขึ้นในพ.ศ. 2437 โดยมีเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองประกอบด้วยห้าเมืองได้แก่เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร และเมืองสวรรคโลก ต่อมารวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าร่วมด้วย โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงคนแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสยามมกุฏราชกุมารเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2450 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อมีการตรา"พระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476" ขึ้น มณฑลเทศาภิบาลสิ้นสุดลงนำไปสู่การจัดตั้งจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน

ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมายทั้ง ๆ ที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แตกต่างกันตามการแบ่งแบบต่าง ๆ หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภา จะจัดอยู่ในภาคกลาง โดยอยู่ทางตอนบนของภาค ห่างจากกรุงเทพมหานคร 368 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน และอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์, แขวงไชยบุรี ประเทศลาว
  • ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
  • ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม และอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
  • ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอกงไกรลาศ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย, อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

 

แบ่งการปกครองออกเป็น อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองพิษณุโลก
อำเภอนครไทย
อำเภอชาติตระการ
อำเภอบางระกำ
อำเภอบางกระทุ่ม
อำเภอพรหมพิราม
อำเภอวัดโบสถ์
อำเภอวังทอง
อำเภอเนินมะปราง

 

จดทะเบียนบริษัทกับเราวันนี้

เว็บไซต์บริษัท, หน่วยงาน ราคาพิเศษ

ฟรี! อบรมบัญชี และภาษี

ฟรี! อีเมลภายใต้ชื่อโดเมน
*** โปรดสอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม 083 622 5555

บริการด้านอื่นๆของเรา

  • ให้คำปรึกษาปัญหาภาษีอากร
  • ให้คำปรึกษา ปัญหาด้านกฎหมาย
  • ให้คำปรึกษา ด้านแหล่งเงินทุน การเขียนโครงการเพื่อยื่นกู้
  • ให้คำแนะนำวิธีการบัญชี เพื่อผลด้านภาษีอากรที่ดีและถูกต้อง
  • ให้คำแนะนำระบบบัญชี เอกสารเบื้องต้นที่จำเป็นในการบันทึกบัญชี
  • ให้คำปรึกษา ด้านการตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ วิเคราะห์คู่แข่งทางการค้า
  • ให้คำปรึกษา เรื่องเอกสารการออกบิล การทำสต๊อกสินค้า การจัดเก็บเอกสาร
  • ให้คำปรึกษา ด้านทำเล จัดหาที่จดตั้งบริษัท รับแฟ็ก ส่งเอกสาร วางบิล เก็บเช็ค

ดื่มเพื่อความสำเร็จที่ "Chonlatee Coffee"

Chonlatee Coffee Service
  • รับติดตั้งระบบร้านกาแฟ
  • รับแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการร้านกาแฟ
  • บริการกาแฟสดนอกสถานที่
  • รับผลิตเมล็ดกาแฟ (OEM)
ธุรกรรมของคุณ
  • จดทะเบียนบริษัท-ห้างหุ้นส่วน
  • จัดทำ-วางระบบบัญชี
  • ปิดงบการเงิน
  • ขอใบอนุญาต
  • ที่ปรึกษาทางธุรกิจ
chonlatee coffee

3/1 และ 3/2 ซอยรามคำแหง 164 แยก 3 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม.10510
Mobile : 062-632-5555, 061-938-5555, 062-938-5555
Line : @chonlateecoffee
CoffeeDriveThru : @chonlateedrivethru
Setup Coffee Shop : @chonlateecoffeesetup
E-mail : [email protected]