รับคั่วกาแฟสด ขายเมล็ดกาแฟสด


หากคุณมีปัญหาเรื่องเมล็ดกาแฟสดที่คุณใช้อยู่ไม่หอมไม่เข้ม ลูกค้าประจำมีน้อยใช่ไหม ลองเปลี่ยนมาใช้ เมล็ดกาแฟสดที่คั่วใหม่อยู่ทุกวันที่ออกจากการคั่วกาแฟใหม่โดยตรง หรือมีเมล็ดอยู่แล้วแต่คั่วเองแล้วไม่ได้ดั่งใจส่งมาให้เรา เรามีผู้เชี่บวชาญเฉพาะทางรับประกันคุณภาพ ไม่ต้อง มีคนกลาง ติดต่อกับเราโดยตรงดีกว่า ทั้งหอม ทั้งเข้ม ราคาถูก คุณภาพดี

มีจำหน่ายและพร้อมรับคั่วทั้งอาราบิก้าและโรบัสต้า

ได้กาแฟคุณภาพดี • รสชาติถูกใจ • เพิ่มยอดขาย

เมล็ดกาแฟนอกระดับพรีเมียม

ขายเมล็ดกาแฟสด

รับคั่วกาแฟสด

จำหน่ายเมล็ดกาแฟทั่วไป-พรีเมียม

รับคั่วกาแฟเฉพาะสูตร นำเมล็ดมาเอง รับคั่วกาแฟภายใต้แบรนด์ของลูกค้า

โทร. 062-632-5555

เมล็ดกาแฟคุณภาพ เพิ่มคุณภาพกาแฟของตัวเอง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม


TEL : 062-632-5555

@Chonlateecoffee

มั่นใจคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง

นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) เป็นจังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธาน

 

ประวัติศาสตร์

หลักฐานในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของนครศรีธรรมราชพบตั้งแต่ยุคหินกลางและยุคหินใหม่ พบเครื่องมือหินต่างๆ พบระนาดหินที่อำเภอท่าศาลา ต่อมาในยุคโลหะได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสำริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุกาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อำเภอฉวาง

สมัยโบราณ

ในสมัยโบราณนครศรีธรรมราชอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีศูนย์กลางแห่งหนึ่งอยู่ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 16 ดังปรากฎในจารึกภาษาสันสกฤตวัดเสมาเมือง กล่าวถึงพระเจ้ากรุงศรีวิชัยพระนามว่าศรีมหาราชาทรงสร้างปราสาทอิฐสามองค์เพื่อถวายแด่พระผู้ผจญมาร (พระสมณโคดม) พระปัทมปาณี และพระวัชรปาณี อาณาจักรศรีวิชัยนับถือพระพุทธศาสนามหายานและนับถือพระโพธิสัตว์ ต่อมาในพ.ศ. 1568 พระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 (Rajendra Chola I) แห่งราชวงศ์โจฬะซึ่งมาจากแคว้นทมิฬในอินเดียใต้ ยกทัพเรือเข้ารุกรานแหลมมลายูและภาคใต้ของไทย ทำให้อำนาจของศรีวิชัยเสื่อมลงและบริเวณแหลมมลายูตกอยู่ภายใต้การปกครองของโจฬะอยู่เวลาหนึ่ง การล่าถอยออกไปของโจฬะ นำไปสู่กำเนิดอาณาจักรตามพรลิงค์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน จารึกเมืองทันโจร์ (Tanjore Inscription) ซึ่งจารึกขึ้นในพ.ศ. 1573 บันทึกเมืองต่างๆที่พระเจ้าราเชนทระฯทรงพิชิตได้ปรากฎชื่อเมือง "มัทลิงกัม" (Madalingam) และบันทึกของขุนนางชาวจีนสมัยราชวงศ์ซ่งปรากฎชื่อเมือง "ตันหม่าลิ่ง" (單馬令 จีนยุคกลาง: tɑn mˠaX liᴇŋ) หมายถึงตามพรลิงค์ จักรวรรดิเขมรแผ่ขยายอำนาจมายังภาคใต้ของไทยในระยะเวลาหนึ่งจากนั้นจึงเสื่อมไป

 

อาณาจักรตามพรลิงค์

ตามที่ปรากฏในจารึกวัดหัวเวียง ที่อำเภอไชยา ว่าในพ.ศ. 1774 พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์พระนามว่าศรีธรรมราชแห่งปทุมวงศ์ สันนิษฐานว่าราชวงศ์ปทุมวงศ์หรือราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชนี้อาจเป็นวงศ์ที่สืบเชื่อสายมาจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อความในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าพญาศรีธรรมาโศกราชหนีมาจากเมืองอินทปัตถ์ (เมืองพระนคร) ตำแหน่งของผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์ในสมัยนี้เรียกว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" อาณาจักรตามพรลิงค์มีอำนาจเหนือเมืองสิบสองนักษัตร ประกอบไปด้วยสิบสองเมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจของนครศรีธรรมราช ประกอบไปด้วยเมืองต่างๆในภาคใต้ของไทยไปจนถึงไทรบุรี กลันตัน และปาหังในประเทศมาเลเซีย ในสมัยของราชวงศ์ปทุมวงศ์อาณาจักรตามพรลิงค์ได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ ในสมัยของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชมีการเริ่มสร้างเจดีย์พระธาตุขึ้นซึ่งเป็นเจดีย์ให้เป็นแบบทรงระฆังคว่ำแบบลังกา พระเจ้าจันทรภาณุแห่งตามพรลิงค์ทรงยกทัพเรือข้ามมหาสมุทรอินเดียเข้ารุกรานเกาะลังกาในสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 2 (Parakramapahu II) แห่งลังกาและสามารถครอบครองดินแดนบางส่วนของเกาะลังกาได้ในช่วงเวลาหนึ่ง

อาณาจักรตามพรลิงค์เสื่อมอำนาจลงในสมัยต่อมาและตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรสุโขทัย จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและสิหิงคนิทาน พระพุทธสิหิงค์ลอยมาจากลังกาจากนั้นมาหยุดพักที่หาดทรายแก้วเมืองนครศรีธรรมราชจากนั้นจึงลอยต่อไปยังทิศเหนือไปยังเชียงใหม่ อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชินกาลมาลีปกรณ์ที่ว่าพระเจ้าโรจนราชหรือพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัยเสด็จมายังนครศรีธรรมราชแล้วอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ซึ่งมาจากลังกาไปประดิษฐานไว้ที่สุโขทัย ในสมัยนี้ปรากฏชื่อเมือง “นครศรีธรรมราช” ขึ้นเป็นครั้งแรกในศิลาจารึกหลักที่ 1 ในความหมายว่าเมืองของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช นครศรีธรรมราชมีอิทธิพลต่อพุทธศาสนาของสุโขทัยอย่างมาก ดังข้อความในศิลาจารึกฯว่าพระเถระสุโขทัย “ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา“

ในพ.ศ. 1808 ทัพเรือของอาณาจักรมัชปาหิตบนเกาะชวายกทัพเข้าโจมตีเมืองนครศรีธรรมราช ชาวบ้านนำโดยชายชื่อว่า “พังพการ” ได้รวบรวมกำลังพลขับไล่ทัพของชวาออกไปได้สำเร็จ ต่อมาท้าวพิชัยเทพเชียงภวาแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้พระโอรสคือท้าวอู่ทองยกทัพเข้ารุกรานนครศรีธรรมราช ทัพของท้าวอู่ทองและพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสู้รับกันที่บางสะพานจนนำไปสู่การแบ่งเขตแดนระหว่างพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชและท้าวอู่ทอง นับจากนั้นอาณาจักรนครศรีธรรมราชจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งต่อมากลายเป็นอาณาจักรอยุธยา ต่อมาเกิดโรคระบาดในเมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชองค์สุดท้ายพร้อมญาติวงศ์เสด็จหนีลงเรือออกทะเลหายสาบสูญ เมืองนครศรีธรรมราชจึงกลายเป็นเมืองร้างว่างผู้คน เชื้อสายปทุมวงศ์จึงสิ้นสุดลง

 

สมัยอยุธยา

เมื่อนครศรีธรรมราชกลายเป็นเมืองร้างจากโรคระบาดนั้น พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชผู้ครองเมืองเพชรบุรี ส่งพระโอรสคือพระพนมวังพร้อมทั้งนางสะเดียงทองมาสร้างเมืองใหม่คือเมืองนครดอนพระ เมื่อพระพนมวังสวรรคตพระโอรสของพระพนมวังคือเจ้าศรีราชาครองเมืองนครฯต่อมา ซึ่งเจ้าศรีราชาได้รับการแต่งตั้งจากพระพนมทะเลฯเมืองเพชรบุรีให้เป็น "พญาศรีธรรมาโศกราช สุรินทรราชาสุรวงศ์ธิบดียุธิษเฐียร อภัยพีรีบรากรมพาหุ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมหานคร" หลังจากที่วงศ์ของพระพนมวังและเจ้าศรีราชาสิ้นสุดลง ขุนอินทาราเจ้าเมืองลานสกาจึงขึ้นมาเป็นผู้ครองนครศรีธรรมราชต่อมาชื่อว่าศรีมหาราชา แต่ศรีมหาราชาขุนอินทาราถูกพระราชอาญาจากทางอยุธยาจึงถูกปลดจากตำแหน่ง บุตรชายของขุนอินทาราขึ้นครองเมืองนครฯเป็นศรีมหาราชาองค์ต่อมา เมื่อวงศ์ศรีมหาราชาสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยาจึงส่งขุนรัตนากรมาปกครองเมืองนครฯ จากนั้นมาฝ่ายอยุธยาจึงส่งผู้ปกครองนครศรีธรรมราชโดยตรง

ในพ.ศ. 1998 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงบัญญัติพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ระบุตำแหน่ง “เจ้าพญาศรีธรรมาโศกราช ชาติเดโชไชยมไหสุริยาธิบดี อภัยพีรีปรากรมพาหุ” ศักดินาหนึ่งหมื่น เป็นผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกหรือเมืองเจ้าพระยามหานคร มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมืองเป็นศูนย์กลางอำนาจการปกครองของอยุธยาในภาคใต้ เมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามาจึงมีการปรับปรุงซ่อมแซมกำแพงเมืองนครศรีธรรมราชเป็นกำแพงแบบก่ออิฐ เมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามาจึงปรากฎชื่อเมืองนครศรีธรรมราชว่า "ลิกอร์" (Ligor) ซึ่งแผลงมาจากคำว่านครฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประมาณพ.ศ. 2144 ทัพเรือจากเมืองอุยงคตนะ (Ujong Tanah) หรือรัฐสุลต่านยะโฮร์ (Johor Sultanate รัฐยะโฮร์ในปัจจุบัน) ยกทัพเรือนำโดยลักษมณา (Laksamana) เข้าโจมตีเมืองนครศรีธรรมราช พระยารามราชท้ายน้ำเจ้าเมืองนครฯป้องกันเมืองจากทัพเรือมลายูไม่สำเร็จ ทัพมลายูเข้าปล้นเมืองนครฯแล้วกลับไปพระยารามราชท้ายน้ำเสียชีวิตในที่รบ

ในรัชสมัยสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ออกญากลาโหมสุริยวงศ์กุมอำนาจและส่งออกญาเสนาภิมุขยามาดะ นางามาซะ (ญี่ปุ่น: 山田長政 โรมาจิ: Yamada Nagamasa) ขุนนางชาวญี่ปุ่นมาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อออกญากลาโหมสุริยวงศ์ทำการยึดอำนาจและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในพ.ศ. 2172 รายาอูงูแห่งรัฐปัตตานีและสุลต่านสุลัยมานแห่งสงขลาก่อการกบฎแข็งเมืองต่ออยุธยาในพ.ศ. 2173 พระเจ้าปราสาททองมีพระราชโองการให้ยามาดะ นางามาซะ ยกทัพเมืองนครศรีธรรมราชเข้าปราบกบฎของปัตตานีและสงขลาแต่ไม่สำเร็จ ยามาดะ นางามาซะถูกวางยาพิษที่เมืองนครฯโดยพระราชโองการของพระเจ้าปราสาททองจนเสียชีวิต นายโอนินบุตรชายของนางามาซะขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครฯต่อมาแต่ชาวเมืองนครฯลุกฮือขึ้นขับไล่นายโอนินและกลุ่มทหารญี่ปุ่นออกไปจากเมืองนครฯ ฮอลันดาเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองนครฯ ในพ.ศ.2190 ยอดเจดีย์พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชหักโค่นลงมา พระเจ้าปราสาททองทรงให้มีการบูรณะสร้างยอดเจดีย์พระธาตุขึ้นใหม่

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการบูรณะปรับปรุงกำแพงเมืองนครศรีธรรมราชโดยมงซิเออร์เดอลามาร์ (Monsieur de la Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศสจนมีลักษณะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน หลังการประหารเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจากเหตุการณ์ของศรีปราชญ์ นครศรีธรรมราชมีเจ้าเมืองคือพระยารามเดโช (ชู) ซึ่งมีเชื้อสายแขก เมื่อสมเด็จพระเพทราชาปราบดาภิเษกยึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์ฯในพ.ศ. 2231 พระยารามเดโช (ชู) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชไม่เข้าไปถือน้ำพิพัฒนสัตยาที่อยุธยา ในพ.ศ. 2235 สมเด็จพระเพทราชาทรงให้พระยาสุรสงครามเป็นแม่ทัพและพระยาราชบังสัน (หะซัน) เป็นแม่ทัพเรือ ยกทัพมาทั้งทางบกและทะเลเพื่อปราบกบฏเมืองนครฯ ทัพของพระเพทราชาใช้เวลาล้อมเมืองนครศรีธรรมราชอยู่นานถึงสามปีจึงสามารถเข้ายึดเมืองได้ พระเพทราชาทรงลดอำนาจเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชโดยยกหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมดขึ้นต่อสมุหกลาโหม ในพ.ศ. 2275 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงยกหัวเมืองภาคใต้ให้ขึ้นต่อเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ว่าที่พระคลังโกษาธิบดี จนกระทั่งมีการแต่งตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชขึ้นอีกครั้งในพ.ศ. 2285 ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์พระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าเมืองนครฯ หลวงสิทธินายเวร (หนู) เป็นปลัดเมือง ต่อมาพระยาราชสุภาวดีความผิดถูกปลดจากตำแหน่งเจ้าเมือง ปลัดเมืองหรือ "พระปลัดหนู" จึงรักษาการณ์เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชแทน

 

สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์

หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองพระปลัดหนูผู้รักษาเมืองนครศรีธรรมราชจึงตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าเมืองและเป็นเจ้าชุมนุมนครศรีธรรมราช ในพ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้เจ้าพระยาจักรี (หมุด) ยกทัพธนบุรีเข้ารุกรานชุมนุมนครศรีธรรมราช ทัพของฝ่ายธนบุรีไม่สามารถเข้ายึดเมืองนครฯได้ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องเสด็จนำทัพด้วยพระองค์เองลงมายึดเมืองนครศรีธรรมราชได้สำเร็จ ทำให้เจ้านครฯ (หนู) ต้องหลบหนีไปยังเมืองปัตตานีและต่อมาเจ้าพระยาจักรีสามารถจับตัวเจ้าหนูกลับมาได้ พระเจ้ากรุงธนบุรีฯให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรีและทรงแต่งตั้งให้เจ้านราสุริยวงศ์ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระเจ้ากรุงธนบุรีมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อเจ้านราสุริยวงศ์เจ้าเมืองนครฯถึงแก่พิราลัย สมเด็จพระเจ้าธนบุรีจึงมีพระราชโองการแต่งตั้งเจ้าเมืองนครฯ (หนู) ออกไปปกครองเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง ได้รับพระราชทานพระสุพรรบัฏเป็น พระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหสวรรค์ พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขัณฑสีมา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138 (พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก ดำรงฐานะเป็นเจ้าประเทศราช

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำริว่าพระเจ้านครศรีธรรมราชมีความชราไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้จึงโปรดฯให้ออกจากตำแหน่ง และให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านครฯ (หนู) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชฯเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก โดยมียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิม เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งมีฐานะเป็นประเทศราชมีเจ้ากษัตริย์ปกครองอยู่เป็นเวลาแปดปีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นหัวเมืองเอกตามเดิม ในพ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ แกงหวุ่นแมงยีแม่ทัพพม่ายกทัพจากเมืองไชยาเข้าบุกเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) สละเมืองหลบหนีเข้าป่าทัพพม่าเข้ายึดเมืองนครฯ[16] กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงยกทัพเรือเข้ายึดเมืองนครฯคืนมาได้ พ.ศ. 2354 เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ถวายบังคมลาออกจากราชการ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์) และทรงแต่งให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ซึ่งเป็นพระโอรสในพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชต่อมา เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์) ถึงแก่อสัญกรรมในพ.ศ. 2357 กรมหมื่นศักดิพลเสพผู้ทรงเป็นหลานของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์) เสด็จมายังนครศรีธรรมราชเพื่อปลงศพเจ้าคุณตาและจัดระเบียบการปกครองเมืองนครศรีธรรมราชใหม่โดยอ้างอิงจากพระอัยการตำแหน่งกรมการเมืองนครฯจากสมัยอยุธยา

ในพ.ศ. 2363 ตวนกูปะแงหรัน สุลต่านแห่งไทรบุรี แข็งเมืองเป็นอิสระจากกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ยกทัพไปยึดเมืองไทรบุรี เจ้าพระยานครฯ (น้อย) สามารถยึดเมืองไทรบุรีได้และเมืองนครศรีธรรมราชปกครองไทรบุรีโดยตรงเป็นเวลาสิบเจ็ดปีจนกระทั่งกบฏหวันหมาดหลีในสมัยของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เมืองนครศรีธรรมราชมีอำนาจมากในหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ถึงแก่อสัญกรรมในพ.ศ. 2382 บุตรชายของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) คือเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนต่อมา

ในพ.ศ. 2401 ตำแหน่งเจ้าเมืองสงขลาได้รับการเลื่อนขึ้นมาให้มีศักดินา 10,000 ไร่ ทัดเทียมกับเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้นครศรีธรรมราชไม่ใช่หัวเมืองใหญ่แห่งปักษ์ใต้เมืองเดียวอีกต่อไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเมืองไทรบุรีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพระยานครฯ แต่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนูพร้อม ณ นคร) ไม่ได้ตามลงไปรับเสด็จด้วย เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเรียกตัวเจ้าพระยานครฯ (หนูพร้อม) ไปช่วยราชการที่กรุงเทพฯ นับจากนั้นมาส่วนกลางจึงเข้ามามีอำนาจปกครองนครศรีธรรมราชโดยตรง การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชในพ.ศ. 2439 ทำให้ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชสิ้นสุดลง พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงมณฑลนครศรีธรรมราชคนแรก มณฑลนครศรีธรรมราชมีอาณาเขตประกอบด้วยจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา จากนั้นมีข้าหลวงดำรงตำแหน่งต่อมาได้แก่พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา) พ.ศ. 2449-2452 และเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ พ.ศ. 2453 - 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งมณฑลภาคในพ.ศ. 2458 นครศรีธรรมราชเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภาคปักษ์ใต้ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อมีการตรา"พระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476" ขึ้น มณฑลเทศาภิบาลสิ้นสุดลงนำไปสู่การจัดตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ โดยมีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้

  • ด้านเหนือ ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวไทย
  • ด้านใต้ ติดกับจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา
  • ด้านตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
  • ด้านตะวันตก ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่

พื้นที่ที่ติดกับทะเลฝั่งอ่าวไทยของจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้นมีชายฝั่งยาวประมาณ 225 กิโลเมตร และจังหวัดนครศรีธรรมราชมีเขาสูงที่สุดในภาคใต้ คือ เขาหลวง มีความสูงประมาณ 1,835 เมตร

 

การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,428 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
อำเภอพรหมคีรี
อำเภอลานสกา
อำเภอฉวาง
อำเภอพิปูน
อำเภอเชียรใหญ่
อำเภอชะอวด
อำเภอท่าศาลา
อำเภอทุ่งสง
อำเภอนาบอน
อำเภอทุ่งใหญ่
อำเภอปากพนัง
อำเภอร่อนพิบูลย์
อำเภอสิชล
อำเภอขนอม
อำเภอหัวไทร
อำเภอบางขัน
อำเภอถ้ำพรรณรา
อำเภอจุฬาภรณ์
อำเภอพระพรหม
อำเภอนบพิตำ
อำเภอช้างกลาง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

 

จดทะเบียนบริษัทกับเราวันนี้

เว็บไซต์บริษัท, หน่วยงาน ราคาพิเศษ

ฟรี! อบรมบัญชี และภาษี

ฟรี! อีเมลภายใต้ชื่อโดเมน
*** โปรดสอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม 083 622 5555

บริการด้านอื่นๆของเรา

  • ให้คำปรึกษาปัญหาภาษีอากร
  • ให้คำปรึกษา ปัญหาด้านกฎหมาย
  • ให้คำปรึกษา ด้านแหล่งเงินทุน การเขียนโครงการเพื่อยื่นกู้
  • ให้คำแนะนำวิธีการบัญชี เพื่อผลด้านภาษีอากรที่ดีและถูกต้อง
  • ให้คำแนะนำระบบบัญชี เอกสารเบื้องต้นที่จำเป็นในการบันทึกบัญชี
  • ให้คำปรึกษา ด้านการตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ วิเคราะห์คู่แข่งทางการค้า
  • ให้คำปรึกษา เรื่องเอกสารการออกบิล การทำสต๊อกสินค้า การจัดเก็บเอกสาร
  • ให้คำปรึกษา ด้านทำเล จัดหาที่จดตั้งบริษัท รับแฟ็ก ส่งเอกสาร วางบิล เก็บเช็ค

ดื่มเพื่อความสำเร็จที่ "Chonlatee Coffee"

Chonlatee Coffee Service
  • รับติดตั้งระบบร้านกาแฟ
  • รับแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการร้านกาแฟ
  • บริการกาแฟสดนอกสถานที่
  • รับผลิตเมล็ดกาแฟ (OEM)
ธุรกรรมของคุณ
  • จดทะเบียนบริษัท-ห้างหุ้นส่วน
  • จัดทำ-วางระบบบัญชี
  • ปิดงบการเงิน
  • ขอใบอนุญาต
  • ที่ปรึกษาทางธุรกิจ
chonlatee coffee

3/1 และ 3/2 ซอยรามคำแหง 164 แยก 3 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม.10510
Mobile : 062-632-5555, 061-938-5555, 062-938-5555
Line : @chonlateecoffee
CoffeeDriveThru : @chonlateedrivethru
Setup Coffee Shop : @chonlateecoffeesetup
E-mail : [email protected]