รับวางระบบร้านกาแฟ ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม
เราให้ช่วยคุณสร้างฝันที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจให้เป็นจริง เริ่มตั้งแต่การเตรียมตัว วางแผน การลงทุน กระบวนการดำเนินการจนไปถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้นๆ
สร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง
เมนูสร้างสรรค์ • รสชาติถูกใจ • สไตล์การให้บริการ
• สำรวจความพร้อม
• ศึกษาข้อมูลของตลาด
• การมองหาทำเล
• ความสำคัญของอุปกรณ์ร้าน
• พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
• วางแผนก่อนเกิดปัญหา
• ประมาณการเงินลงทุนอย่างเหมาะสม
• กำหนดราคาขาย
• วิเคราะห์จุดคุ้มทุน
• ประเมินระยะเวลาคืนทุนได้
เรามีคำตอบที่จะทำให้ฝันของคุณไม่ใช่ฝันอีกต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
TEL : 062-632-5555
@Chonlateecoffee
ชัยภูมิ (เดิมสะกดว่า ไชยภูมิ์) เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย แต่หากแบ่งตามภูมิศาสตร์ ชัยภูมิจะจัดอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ร่วมกับจังหวัดเลย และนครราชสีมา หากแบ่งตามลักษณะภูมิอากาศจะจัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และแบ่งตามแบบเขตการปกครองจะจัดอยู่ในกลุ่มภาคอีสานตอนล่าง
ประวัติศาสตร์
แต่เดิมเมืองชัยภูมิก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยสันนิษฐานว่ามีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยเมืองชัยภูมินั้นถือเป็นเส้นทางการเผยแพร่วัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลางเข้าสู่ภาคอีสาน ปรากฏหลักฐานจากใบเสมาบ้านกุดโง้งในอำเภอเมือง และใบเสมานครกาหลงที่อำเภอคอนสวรรค์ และมีกลุ่มประชาชนชาวญัฮกุร ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นชาติพันธุ์เดียวกับชาวมอญโบราณสมัยทวารวดีอาศัยอยู่ทางขอบสันเขาตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ในเวลาต่อมาเมื่ออิทธิพลทวารวดีเสื่อมลง อิทธิพลของขอมก็เข้ามาแทน ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับจังหวัดอื่น ๆ ของอีสานใต้ในเวลานั้น ดังปรากฏหลักฐาการสร้างปราสาทขอม เช่น ปรางค์กู่ในเขตอำเภอเมือง ปรางค์กู่บ้านแท่นในเขตอำเภอบ้านแท่น กู่แดงในอำเภอบ้านเขว้า เป็นต้น ส่วนในสมัยสุโขทัยนั้นสันนิษฐานว่าชัยภูมิน่าจะเป็นเมืองหนึ่งที่สุโขทัยครอบครองอีกด้วย
สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าบริเวณจังหวัดชัยภูมิมีประชากรลาวเข้ามาอาศัยอยู่ และมีการสร้างพระธาตุหนองสามหมื่น ซึ่งอยู่บริเวณตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียวปัจจุบัน โดยมีลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง ล้านนา และอยุธยา โดยสร้างในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชผู้ครองเมืองลาวในยุคนั้น ในเวลาต่อมาเมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น ในสมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมาปราบก๊กเจ้าพิมาย ซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นหัวหน้าก๊ก ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพิมายและต่อมาได้ ยึดเมืองนครราชสีมาเป็นที่ตั้งมั่น เจ้าพิมายให้พระยาวรวงษาธิราชคุมทัพไปตั้งรับเพื่อตีสกัดทัพพระเจ้าตากสินที่ด่านขุนทดและถูกกองทัพ พระเจ้าตากสินตีจนแตกพ่ายในที่สุดในกรณีศึกครั้งนี้อาจารย์คำผู้นำหมู่บ้านสี่มุมได้นำชาวบ้านเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินและขออาสาเป็น กองกำลังร่วมสู้รบในกองทัพหลวงด้วย พระเจ้าตากสินทรงยินดีรับไว้และให้เป็นกองกำลังเข้าตีด่านจอหอจนแตกพ่ายสามารถยึดเมืองพิมายและเมือง นครราชสีมาคืนมาได้ในครั้งเข้าตีด่านจอหอ กองกำลังของบ้าน สี่มุมโดยการนำของอาจารย์คำได้แสดงความสามารถในการรบอย่างกล้าหาญ เข้มแข็งเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมาก เมื่อเสร็จการศึกสงครามจึงได้ปูนบำเหน็จความชอบให้อาจารย์คำเป็น “พระนรินทร์สงคราม” ยกฐานะบ้านสี่มุมขึ้นเป็น “เมืองสี่มุม” (ในเขตอำเภอจัตุรัส ในจังหวัดชัยภูมิปัจจุบัน) ให้ปกครองเมืองสี่มุมให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 หมื่นอร่ามกำแหง หรือนายภูมีชาวเมืองนครไทยซึ่งเป็นคนเชื้อสายหลวงพระบาง ได้เข้ามาตั้งบ้านแปงเมืองในเขตพื้นที่บริเวณอำเภอคอนสารในปัจจุบัน และขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ 2 ปี พ.ศ. 2352 ในเขตอำเภอภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์ มีชุมชนลาวเวียงจันทน์อพยพ คือหลวงไกรสิงหนาท ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และเมื่อปี พ.ศ. 2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวงซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด (เขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์อีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงขึ้นเป็น เมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก
ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพมหานคร โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพมหานครรบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นต่อมาเมื่อความแตก เจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาเพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทน์
เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไป ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพลเข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไหว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร
ในปี พ.ศ. 2440 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว เมืองในจังหวัดชัยภูมิ จึงเข้าอยู่ในมณฑลนครราชสีมา ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน เมืองชัยภูมิ, เมืองภูเขียว และเมืองสี่มุม (จัตุรัส) จึงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้บริเวณเมืองชัยภูมิจัดตั้งเป็นอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยสามารถสรุปการยุบหัวเมืองต่าง ๆ ได้ดังนี้ เมืองสี่มุมของพระยานรินทรสงคราม ปัจจุบัน คืออำเภอจัตุรัส บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต ซับใหญ่ หนองบัวระเหว เนินสง่า ส่วนเมืองภูเขียว-เกษตรสมบูรณ์ของพระไกรสิหนาท ปัจจุบันคือ อำเภอภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ บ้านแท่น แก้งคร้อ หนองบัวแดง ภักดีชุมพล ส่วนเมืองคอนสารของหมื่นอร่ามกำแหง ปัจจุบันคืออำเภอคอนสาร ซึ่งเคยเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอภูเขียว และเมืองชัยภูมิของพระยาภักดีชุมพล ปัจจุบันคืออำเภอเมือง อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ โดยทั้งหมดในปัจจุบันรวมกันเป็นจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิมีเขตติดต่อกับจังหวัดเพื่อนบ้านหลายจังหวัด ได้แก่ ทิศเหนือ ติดกับเพชรบูรณ์และขอนแก่น ทิศตะวันออกติดกับขอนแก่นและนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี และทิศใต้ติดกับจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิในด้านภูมิศาสตร์อยู่ในเขตอีสานตะวันตกร่วมกับเลยและนครราชสีมา ในด้านอุตุนิยมวิทยาอยู่ในเขตอีสานตอนบน และในด้านการปกครองอยู่ในเขตอีสานตอนใต้
ลักษณะภูมิประเทศ
ชัยภูมิมีพื้นที่ภูเขามากทางด้านตะวันตก อาทิ ภูเขียว ภูพังเหย ภูกระแต โดยมีภูแลนคาทางตอนกลางของจังหวัด ส่วนภูตะเภา ภูผาแดง และภูเม็งอยู่ทางตะวันออก มีภูเขาเตี้ยทอดยาวจากทางใต้ถึงตอนกลางอีกด้วย อำเภอที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือ หนองบัวแดง
- พื้นที่ราบในฝั่งแม่น้ำมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 180 – 300 เมตร ได้แก่บริเวณพื้นที่ราบเรียบ ความลาดเอียงของพื้นที่อยู่ระหว่างร้อยละ0 - 2 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 13 ได้แก่พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำชีในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส อำเภอเนินสง่า บริเวณนี้จะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง
- พื้นที่ลูกคลื่นลอนต่ำอยู่ตอนกลางของพื้นที่จังหวัด เป็นแนวยาวตามทิศเหนือ-ใต้ ตามแนวเทือกเขาดงพญาเย็น มีความสูงประมาณ 300 – 500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางได้แก่ พื้นที่บางส่วนในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเขว้า อำเภอแก้งคร้อ อำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์และอำเภอบ้านแท่น
- พื้นที่สูงและภูเขาสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลอนลึกและภูเขา ในเขตเทือกเขาดงพญาเย็น มีความสูงตั้งแต่ 500 – มากกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอคอนสาร อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอภูเขียว อำเภอแก้งคร้อ อำเภอภักดีชุมพล อำเภอซับใหญ่ และพื้นที่ทางตอนเหนือของอำเภอเมืองชัยภูมิ
จุดสูงสุดของจังหวัดชัยภูมิ คือ ภูเขาโป่งทองหลาง มีความสูง 1,336 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในเขตพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง
การปกครองแบ่งออกเป็น 16 อำเภอ 124 ตำบล 1393 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองชัยภูมิ
อำเภอบ้านเขว้า
อำเภอคอนสวรรค์
อำเภอเกษตรสมบูรณ์
อำเภอหนองบัวแดง
อำเภอจัตุรัส
อำเภอบำเหน็จณรงค์
อำเภอหนองบัวระเหว
อำเภอเทพสถิต
อำเภอภูเขียว
อำเภอบ้านแท่น
อำเภอแก้งคร้อ
อำเภอคอนสาร
อำเภอภักดีชุมพล
อำเภอเนินสง่า
อำเภอซับใหญ่
จดทะเบียนบริษัทกับเราวันนี้
เว็บไซต์บริษัท, หน่วยงาน ราคาพิเศษ
ฟรี! อบรมบัญชี และภาษี
ฟรี! อีเมลภายใต้ชื่อโดเมน
*** โปรดสอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม 083 622 5555
บริการด้านอื่นๆของเรา
- ให้คำปรึกษาปัญหาภาษีอากร
- ให้คำปรึกษา ปัญหาด้านกฎหมาย
- ให้คำปรึกษา ด้านแหล่งเงินทุน การเขียนโครงการเพื่อยื่นกู้
- ให้คำแนะนำวิธีการบัญชี เพื่อผลด้านภาษีอากรที่ดีและถูกต้อง
- ให้คำแนะนำระบบบัญชี เอกสารเบื้องต้นที่จำเป็นในการบันทึกบัญชี
- ให้คำปรึกษา ด้านการตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ วิเคราะห์คู่แข่งทางการค้า
- ให้คำปรึกษา เรื่องเอกสารการออกบิล การทำสต๊อกสินค้า การจัดเก็บเอกสาร
- ให้คำปรึกษา ด้านทำเล จัดหาที่จดตั้งบริษัท รับแฟ็ก ส่งเอกสาร วางบิล เก็บเช็ค
ดื่มเพื่อความสำเร็จที่ "Chonlatee Coffee"
Chonlatee Coffee Service
- รับติดตั้งระบบร้านกาแฟ
- รับแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการร้านกาแฟ
- บริการกาแฟสดนอกสถานที่
- รับผลิตเมล็ดกาแฟ (OEM)
ธุรกรรมของคุณ
- จดทะเบียนบริษัท-ห้างหุ้นส่วน
- จัดทำ-วางระบบบัญชี
- ปิดงบการเงิน
- ขอใบอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางธุรกิจ
chonlatee coffee
3/1 และ 3/2 ซอยรามคำแหง 164 แยก 3 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม.10510
Mobile : 062-632-5555, 061-938-5555, 062-938-5555
Line : @chonlateecoffee
CoffeeDriveThru : @chonlateedrivethru
Setup Coffee Shop : @chonlateecoffeesetup
E-mail : [email protected]