รับวางระบบร้านกาแฟ ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม
เราให้ช่วยคุณสร้างฝันที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจให้เป็นจริง เริ่มตั้งแต่การเตรียมตัว วางแผน การลงทุน กระบวนการดำเนินการจนไปถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้นๆ
สร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง
เมนูสร้างสรรค์ • รสชาติถูกใจ • สไตล์การให้บริการ
• สำรวจความพร้อม
• ศึกษาข้อมูลของตลาด
• การมองหาทำเล
• ความสำคัญของอุปกรณ์ร้าน
• พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
• วางแผนก่อนเกิดปัญหา
• ประมาณการเงินลงทุนอย่างเหมาะสม
• กำหนดราคาขาย
• วิเคราะห์จุดคุ้มทุน
• ประเมินระยะเวลาคืนทุนได้
เรามีคำตอบที่จะทำให้ฝันของคุณไม่ใช่ฝันอีกต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
TEL : 062-632-5555
@Chonlateecoffee
จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ 4,521.078 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 532,326 คน อาณาเขตทางใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่ติดทะเล และเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ดังปรากฏในคำขวัญประจำจังหวัดคือ "ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน"
จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู รองลงมาคือชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธ อย่างไรก็ตามยะลาถือเป็นจังหวัดที่ดำรงความเป็นพหุวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน เพราะมีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ภาษา และศาสนา แต่ชนทุกกลุ่มยังคงรักษาวิถีชีวิตและประเพณีของตนไว้อย่างเหนียวแน่น
เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มลายู: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มลายู: Jalor, جالور, ญาโลร์) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย" มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกภูเขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง
แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้
เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้
ประวัติ
ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476 เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ
ภาษา
จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสามจังหวัดของประเทศไทยที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร เป็นสำเนียงที่ใช้ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลา ภาษานี้มีการใช้อักษรยาวีซึ่งได้รับอิทธิพลจากอักษรอาหรับสำหรับการเขียน สำหรับการเผยแผ่ศาสนาโดยเฉพาะ ทว่าในยุคหลังมานี้มีการยืมคำไทยเข้าปะปนมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่พูดมลายูปนไทย ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ติดป้ายประกาศของสถานที่ราชการเป็นภาษามลายูปัตตานีและอักษรยาวีทั่วไปในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนสามารถพูดภาษามลายูเพื่อสื่อสารกับคนมลายูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่
ขณะที่ชาวไทยพุทธจะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีสำเนียงใกล้เคียงกับสำเนียงสงขลา มีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาใต้ถิ่นอื่นที่มีการรวบคำให้สั้นกระชับ ทว่ามีลักษณะเด่นคือการออกเสียงที่นุ่มนวลไม่หยาบกระด้างต่างจากภาคใต้ถิ่นอื่น และมีการยืมคำมลายูมาก โดยมีความหนาแน่นของคำยืมจากมลายูมากถึงร้อยละ 75.75 เช่น ซะด๊ะ แปลว่า อร่อย มอแระ แปลว่า สวยงาม และลากู แปลว่า ขายดี
ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะอำเภอเบตงที่มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พวกเขาธำรงอัตลักษณ์ความเป็นจีนคือการใช้ภาษาจีน ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มได้แก่ ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนกวางไส ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว และภาษาจีนแคะ เช่นประชาชนในชุมชนวัดปิยมิตรที่สามารถสื่อสารภาษาจีนกลางได้ ปัจจุบันคนยุคหลังใช้ภาษาจีนน้อยลง และลูกหลานจีนหลายคนนิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน แต่บุคคลเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาที่อายุต่ำกว่า 50 ปีจะพูดจีนไม่ได้แต่พอฟังรู้ความ
ปัจจุบันชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาเกินครึ่งพูดภาษาไทยถิ่นใต้ไม่ได้เพราะหันไปพูดภาษาไทยมาตรฐาน ส่วนชาวไทยเชื้อสายมลายูนอกเขตเทศบาลจะพูดภาษาไทยไม่ชัดเจน และหากมีอายุ 70 ปีขึ้นไปจะไม่ได้สามารถพูดภาษาไทยได้เลย
ศาสนา
จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีชุมชนชาวคริสต์ขนาดย่อมทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ในเขตเทศบาลนครยะลาและเทศบาลเมืองเบตง นอกจากนี้ยังมีชุมชนของผู้นับถือศาสนาซิกข์ขนาดน้อย อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนชาวซาไกหันมานับถือศาสนาพุทธโดยให้เหตุผลว่านับถือตามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แต่ปัจจุบันยังปะปนไปด้วยความเชื่อพื้นเมือง และแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในยะลาที่นับถือศาสนาพุทธและร่วมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกับชาวไทยพุทธในท้องถิ่น
จากการสำรวจการนับถือศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2542 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 62.79 ศาสนาพุทธร้อยละ 36.40 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.14 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.01 ศาสนาอื่น ๆ (เช่นศาสนาพื้นบ้านจีน) ร้อยละ 0.01 และไม่ได้ระบุร้อยละ 0.61 ต่อมาใน พ.ศ. 2550 พบว่า มีผู้นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33 พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 76.59 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 22.74 พ.ศ. 2557 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 79.60 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 20.13 และผู้นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 0.27 และการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 74.06 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 21.16 และผู้นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 4.78 และการสำรวจใน พ.ศ. 2562 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 81.46 ศาสนาพุทธลดลงเหลือร้อยละ 18.45 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.08 ศาสนาซิกข์และอื่น ๆ ร้อยละ 0.01 ชาวพุทธในพื้นที่รู้สึกว่าพวกตนเป็นพลเมืองชั้นสอง หลังการก่อวินาศกรรมด้วยการวางระเบิดถนนสายหลักในปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2555 ส่งผลให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธจำนวนมากอพยพออกจากยะลา ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธจึงหดตัวอย่างเฉียบพลัน รวมทั้งวัดหลายแห่งกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษา เช่น วัดหัวสะพาน อำเภอเมืองยะลา วัดจินดาพลาราม อำเภอบันนังสตา และวัดปูแหล อำเภอยะหา ซึ่ง พ.ศ. 2563 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พยายามฟื้นฟูวัดเหล่านี้ให้มีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงว่า "จะปล่อยให้คนไทยอพยพทิ้งถิ่นฐานไม่ได้ จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคง ให้มีความมั่นคงอยู่ในภาคใต้ เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจของราษฎรไทยพุทธสืบไป"
สำนักงานสถิติจังหวัดยะลารายงานว่า ใน พ.ศ. 2560 จังหวัดยะลามีมัสยิด 508 แห่ง วัดพุทธ 52 แห่ง สำนักสงฆ์ 13 แห่ง โบสถ์คริสต์ 9 แห่ง และคุรุดวารา 1 แห่ง
วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562 กลุ่มสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา จำนวน 60 คน เรียกร้องให้โรงพยาบาลในจังหวัดยะลาและในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำห้องครัวสำหรับไทยพุทธและอาคารสำหรับพระสงฆ์อาพาธ
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล 341 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองยะลา
อำเภอเบตง
อำเภอบันนังสตา
อำเภอธารโต
อำเภอยะหา
อำเภอรามัน
อำเภอกาบัง
อำเภอกรงปินัง
จดทะเบียนบริษัทกับเราวันนี้
เว็บไซต์บริษัท, หน่วยงาน ราคาพิเศษ
ฟรี! อบรมบัญชี และภาษี
ฟรี! อีเมลภายใต้ชื่อโดเมน
*** โปรดสอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม 083 622 5555
บริการด้านอื่นๆของเรา
- ให้คำปรึกษาปัญหาภาษีอากร
- ให้คำปรึกษา ปัญหาด้านกฎหมาย
- ให้คำปรึกษา ด้านแหล่งเงินทุน การเขียนโครงการเพื่อยื่นกู้
- ให้คำแนะนำวิธีการบัญชี เพื่อผลด้านภาษีอากรที่ดีและถูกต้อง
- ให้คำแนะนำระบบบัญชี เอกสารเบื้องต้นที่จำเป็นในการบันทึกบัญชี
- ให้คำปรึกษา ด้านการตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ วิเคราะห์คู่แข่งทางการค้า
- ให้คำปรึกษา เรื่องเอกสารการออกบิล การทำสต๊อกสินค้า การจัดเก็บเอกสาร
- ให้คำปรึกษา ด้านทำเล จัดหาที่จดตั้งบริษัท รับแฟ็ก ส่งเอกสาร วางบิล เก็บเช็ค
ดื่มเพื่อความสำเร็จที่ "Chonlatee Coffee"
Chonlatee Coffee Service
- รับติดตั้งระบบร้านกาแฟ
- รับแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการร้านกาแฟ
- บริการกาแฟสดนอกสถานที่
- รับผลิตเมล็ดกาแฟ (OEM)
ธุรกรรมของคุณ
- จดทะเบียนบริษัท-ห้างหุ้นส่วน
- จัดทำ-วางระบบบัญชี
- ปิดงบการเงิน
- ขอใบอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางธุรกิจ
chonlatee coffee
3/1 และ 3/2 ซอยรามคำแหง 164 แยก 3 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม.10510
Mobile : 062-632-5555, 061-938-5555, 062-938-5555
Line : @chonlateecoffee
CoffeeDriveThru : @chonlateedrivethru
Setup Coffee Shop : @chonlateecoffeesetup
E-mail : [email protected]