รับวางระบบร้านกาแฟ ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม


เราให้ช่วยคุณสร้างฝันที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจให้เป็นจริง เริ่มตั้งแต่การเตรียมตัว วางแผน การลงทุน กระบวนการดำเนินการจนไปถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้นๆ

สร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง

เมนูสร้างสรรค์ • รสชาติถูกใจ • สไตล์การให้บริการ

วางระบบร้านกาแฟ

วางระบบร้านอาหาร-เครื่องดื่ม

• สำรวจความพร้อม

• ศึกษาข้อมูลของตลาด

• การมองหาทำเล

• ความสำคัญของอุปกรณ์ร้าน

• พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

• วางแผนก่อนเกิดปัญหา

• ประมาณการเงินลงทุนอย่างเหมาะสม
• กำหนดราคาขาย
• วิเคราะห์จุดคุ้มทุน
• ประเมินระยะเวลาคืนทุนได้

เรามีคำตอบที่จะทำให้ฝันของคุณไม่ใช่ฝันอีกต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม


TEL : 062-632-5555

@Chonlateecoffee

ประกอบธุรกิจได้จริงจากประสบการณ์ผู้ประกอบการตัวจริง

ยโสธร เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย เดิมชื่อ บ้านสิงห์ท่า เมืองยศสุนทร เป็นเมืองเก่าแก่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำชี มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 250 ปี ต่อมาปี พ.ศ. 2443 ถูกรวมเข้าอยู่ในสังกัดมณฑลลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ (มณฑลลาวกาว) และกลายเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี และถูกจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมกันตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป มีนายชัยทัต สุนทรพิพิธ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก

 

ประวัติศาสตร์
สมัยทวาราวดี

มีร่องรอยการสร้างชุมชนด้วยการขุดคูน้ำล้อมรอบ แล้วนำดินที่ขุดมาสร้างเป็นคันดินล้อมบริเวณคู่ไปกับคูน้ำ ในเขตจังหวัดยโสธร พบการตั้งถิ่นฐานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-16 ได้แก่ บ้านตาดทอง บ้านขุมเงิน อำเภอเมืองยโสธร บ้านโนนเมืองน้อย ดงเมืองเตย อำเภอคำเขื่อนแก้ว บ้านบึงแก บ้านคูสองชั้น บ้านหัวเมือง บ้านบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย บ้านโพนแพง บ้านน้ำอ้อม บ้านหมากมาย บ้านแข้ และบ้านโพนเมือง อำเภอค้อวัง

ตามชุมชนดังกล่าวได้พบศิลปวัตถุร่วมสมัยกับศิลปกรรมแบบอมราวดี ทวาราวดี และลพบุรีปะปนอยู่ด้วย และตามตำนานอุรังคนิทาน (พระธาตุพนม) ยังมีข้อความว่า ชาวสะเดาตาดทองได้นำสิ่งของมาช่วย ซึ่งชื่อสะเดาตาดทองนั้นคือ บ้านตาดทอง และบ้านสะเดา ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร

 

สมัยเจนละ

ในจังหวัดยโสธรพบจารึกโบราณที่ได้กล่าวถึงอาณาจักรเจนละไว้ 4 หลัก ได้แก่ 1. จารึกดงเมืองเตย บ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว (ราวพุทธศตวรรษที่ 12) กล่าวถึงชื่อเมืองศังขปุระ และราชสกุล

  1. จารึกบ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร (ราวพุทธศตวรรษที่ 15) กล่าวถึงกษัตริย์พระนามว่า ศรีอีสานวรมัน (กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ พ.ศ. 1159-1178) ได้พระราชทานบุตรีชื่อนางสุรัสวดี พร้อมด้วยหมู่บุตรหลาน ข้าทาส เงินทอง ให้แก่ชายหนุ่มผู้เป็นเชื้อพระวงศ์เพื่อมงคลสมรส แสดงให้เห็นว่าบริเวณจังหวัดยโสธรเคยเป็นชุมชนใหญ่ ชื่อว่า เมืองศังขปุระนคร และมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรขอมในฐานะเครือญาติ และมีความยิ่งใหญ่พอสมควรที่กษัตริย์ขอมจึงพระราชทานบุตรีมาให้เป็นพระมเหสี
  2. ประวัติการก่อสร้างพระธาตุอานนท์แห่งวัดมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ว่า พระธาตุอานนท์ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1218 โดยเจตตานุวิน และจินดาชานุ สองพี่น้องชาวนครเวียงจันทน์ กับเอียงเวธา ผู้ปกครองชุมชนชาวขอม แสดงให้เห็นว่า สถานที่ตั้งเมืองยโสธรเคยเป็นชุมชนโบราณมีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยนั้น และสอดคล้องกับยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ พ.ศ. 1200-1233)
  3. จารึกโนนสัง บ้านบึงแก ตำบลบึงแก อำเภอมหาชนะชัย (ประมาณ พ.ศ. 1432) กล่าวสรรเสริญเทพเจ้าพระนามว่า โสมาทิตย์ ซึ่งไม่ปรากฏพระนามว่าเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรขอมสมัยพระนคร สันนัษฐานว่าอาจเป็นชุมชนอิสระนอกอาณาเขตอาณาจักรขอม

 

สมัยสุโขทัย

ไม่ปรากฏว่ามีศิลปะสมัยสุโขทัยอยู่เลย อาจจะเนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ซึ่งมีภูเขาสูงใหญ่กั้นอยู่ การติดต่อค้าขายและไปมาหาสู่กันจึงแทบไม่มี ประกอบกับอาณาจักรสุโขทัยทางด้านตะวันออก มีอาณาเขตมาถึงอาณาจักรล้านช้างเท่านั้น

 

สมัยอยุธยา

ไม่ปรากฏว่ามีศิลปะสมัยอยุธยาเข้ามาถึง อาจจะเนื่องจากดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตของอาณาจักรล้านช้าง และได้เป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรอยุธยา ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระธาตุศรีสองรัก อันเป็นสักขีพยานถึงความรักใคร่ เป็นสัมพันธไมตรีต่อกัน ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างหลวงพระบาง ราชอาณาจักรอยุธยาได้แผ่ไปถึงจังหวัดนครราชสีมา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 

สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2314 เจ้าพระวรราชปิตา พระโอรสของพระเจ้าสุวรรณปางคำ เจ้านายเชื้อสายลื้อแห่งราชวงศ์เชียงรุ่ง จากอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง (หรือนครเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า) ผู้สร้างนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) ได้ให้เจ้าคำสู เจ้าคำขุย เจ้าคำม่วง เจ้าคำสิงห์ (บุตรคนโตของเจ้าฝ่ายหน้า) ญาติพี่น้อง และไพร่พล ลงมาสร้างบ้านเมืองใหม่ไว้เป็นเมืองหน้าด่านของนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เมื่อเจ้าคำสูและคณะเดินทางมาถึงดงหัวช้างได้ตั้งสัจจาธิษฐานต่อเทพยดาอารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตย์อยู่ในดงแห่งนี้ขอตั้งบ้านเรือน แล้วจัดพิธีจับสลากเสี่ยงทาย แต่จับสลากไม่ได้ เจ้าคำสูจึงให้คณะหยุดพักอยู่ ณ ดงแห่งนี้ก่อน โดยให้ตั้งบ้านเรือนขึ้นเพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราว ตั้งชื่อหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "บ้านสิงห์หิน" (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านสิงห์โคก) ต่อจากนั้นเจ้าคำสูจึงได้ให้ท้าวอินทิสาน ท้าวเมืองกลาง และพราหมณ์ ออกตรวจหาภูมิประเทศหาที่ตั้งบ้านเมืองต่อไป ท้าวอินทิสานและคณะได้พากันเดินทางมาถึงดงใหญ่ใกล้ท่าชีได้พบพระพุทธรูปใหญ่ อยู่ในวัดร้างองค์หนึ่ง และพบรูปสิงห์ทองอีกตัวหนึ่ง ท้าวอินทิสานและคณะจึงได้ทำพิธีขอตั้งบ้านเมือง โดยให้ท้าวเมืองกลางเป็นผู้จับสลาก ในที่สุดจับสลากได้ใบที่เป็นอุตมะดีเลิศ จึงได้กลับรายงานให้เจ้าคำสูทราบ และเจ้าคำสูจึงได้แบ่งไพร่พลเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งให้คงไว้ที่บ้านสิงห์หิน โดยให้เจ้าคำขุยรักษาญาติพี่น้องและไพร่พลที่อยู่ที่บ้านสิงห์หิน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเจ้าคำสูได้พามาสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ที่ดงขวางท่าชี ตั้งชื่อหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า บ้านสิงห์ท่า ให้สร้างวัดขึ้นที่บริเวณที่มีพระพุทธรูปใหญ่อยู่ก่อนนั้น เสร็จแล้วให้ชื่อว่า วัดหลวงพระเจ้าใหญ่ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสิงห์ท่า ถือได้ว่าเป็นพระอารามแห่งแรก

ในปีเดียวกันนั้นพระเจ้าสิริบุญสาร ซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์เกิดหวาดระแวงในเจ้าพระตา และเจ้าพระวอ จึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์มาปราบปราม เจ้าพระตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่สนามรบ ส่วนเจ้าพระวอ เจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม และเจ้าก่ำ ได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานลงมาตามลำน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสูผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่าสิงห์โคก ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบากแก่บ้านสิงห์ท่าสิงห์โคก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่เวียงดอนกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้สร้างค่ายขุดคูประตูหอรบขึ้นเรียกว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก"

พ.ศ. 2321 เมื่อพระเจ้าสิริบุญสารทราบเรื่อง จึงได้ยกทัพมาปราบอีกครั้งจนทำให้เจ้าพระวอถึงแก่พิลาลัยในสนามรบ เจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม พร้อมบริวารจึงได้อพยพต่อไปยังเกาะกลางลำน้ำมูลซึ่งเรียกว่า "ดอนมดแดง" แต่เนื่องจากเป็นที่ต่ำไม่เหมาะสมที่จะสร้างเมืองใหม่จึงอพยพขึ้นมาตามลำน้ำมูลถึงห้วยแจระแม แล้วมาสร้างเมืองขึ้นที่ดงอู่ผึ้ง เมื่อปีกุน พ.ศ. 2322 แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองที่ตั้งว่าเมืองอุบล เพื่อเป็นการรำลึกถึงบ้านเมืองเดิมของตนคือเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) จากนั้นเจ้าคำผงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองคนแรก และได้รับพระราชทานพระราชทินนามว่า "พระปทุมสุรราช"

พ.ศ. 2323 เกิดจราจลในเขมร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) จึงมีใบบอกมายังพระปทุมสุรราช (เจ้าคำผง) พร้อมกับเจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม เมืองอุบล และเจ้าคำสิงห์ (บุตรชายคนโตเจ้าฝ่ายหน้า) แห่งบ้านสิงห์ท่า ได้ยกกำลังลงไปช่วยราชการปราบจราจลที่เขมรคราวนั้น แต่ก็หาทันได้ปราบปรามจนเสร็จสิ้นไม่ ทางกรุงธนบุรีก็เกิดจราจลขึ้น และได้ยกกำลังเข้าไปช่วยปราบจลาจลในกรุงธนบุรีจนสำเร็จลง

 

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พ.ศ. 2329 เจ้าฝ่ายหน้า ผู้น้องพระปทุมสุรราช (เจ้าคำผง) พร้อมกับเจ้าฝ่ายบุตผู้เป็นบุตร และพระพี่นางอูสา ได้นำไพร่พลญาติวงศาอีกส่วนหนึ่งขอแยกตัวกลับมาอยู่ที่บ้านสิงห์ท่าซึ่งเจ้าคำสูปกครองอยู่ บูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ ตั้งมั่นเป็นกองนอกหวังจะตั้งบ้านเมืองขึ้นให้ใหญ่โตสมฐานะดั่งเมืองอุบล และพระปทุมสุรราช (เจ้าคำผง) ก็เห็นสมควรด้วยกับเจ้าฝ่ายหน้า ไม่ขัดข้องประการใด จึงได้แยกย้ายกันไปทำมาหากินที่บ้านสิงห์ท่า ได้ปรับปรุงและสร้างบ้านสิงห์ท่าจนเจริญรุ่งเรืองต่อจากเจ้าคำสู

พ.ศ. 2334 เกิดกบฏอ้ายเชียงแก้วได้พาพรรคพวกเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อครั้งเป็นพระพรหม ยกกระบัตร ยกกองทัพเมืองนครราชสีมา มาปราบกบฏอ้ายเชียงแก้ว ขณะที่กองทัพนครราชสีมายกมาไม่ถึงนั้น เจ้าพระประทุมสุรราช (เจ้าคำผง) และเจ้าฝ่ายหน้า ผู้น้องซึ่งเป็นนายกองนอกที่บ้านสิงห์ท่า และเจ้าคำสิงห์ บุตรคนโตได้ร่วมกันยกกำลังไปปราบกบฎอ้ายเชียงแก้วก่อน ทั้งสองฝ่ายได้สู้รบกันที่บริเวณแก่งตะนะ จนกองกำลังอ้ายเชียงแก้วแตกพ่ายไป เจ้าฝ่ายหน้าจับตัวอ้ายเชียงแก้วไว้ได้ และประหารชีวิตที่แก่งตะนะปากด่านแม่น้ำมูล เมื่อกองทัพเมืองนครราชสีมายกมาถึงนครจำปาศักดิ์เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อยแล้ว จึงพากันยกกองทัพไปตีพวกข่า ชาติกระเสงสวาง จะรายระแดร์ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง จับพวกข่าเป็นเชลยได้เป็นจำนวนมาก

พ.ศ. 2335 จากความดีความชอบในการปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้วครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าฝ่ายหน้าเป็นที่เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 แทนพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารที่ถึงแก่พิราลัยไป และให้เจ้าคำสิงห์ บุตรคนโตเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองโขง (สีทันดร) และได้ย้ายไพร่พลส่วนหนึ่งจากบ้านสิงห์ท่าไปที่นครจำปาศักดิ์ ส่วนทางบ้านสิงห์ท่าได้ให้เจ้าคำม่วง เป็นผู้ปกครองแทน

พ.ศ. 2354 เจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราชได้ถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านู หลานพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้านครจำปาศักดิ์องค์ก่อน เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์สืบต่อไป จึงทำให้เจ้าราชวงศ์เมืองโขง (เจ้าคำสิงห์) ไม่เป็นที่พอใจที่จะทำราชการกับเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จึงได้พาครอบครัว และไพร่พลอพยพมาอยู่ที่บ้านสิงท่าดังเดิม พร้อมนำอัฐิเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราชมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ข้างองค์พระธาตุอานนท์ที่วัดมหาธาตุ เพราะเกรงว่าเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จะไม่เคารพอัฐิเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราช และได้ปรับปรุงพัฒนาบ้านสิงห์ท่าให้ใหญ่โตรุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก

พ.ศ. 2357 เจ้าราชวงศ์คำสิงห์ได้มีใบกราบบังคมทูลขอยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองยศสุนทร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ให้เจ้าราชวงศ์คำสิงห์เป็นที่พระสุนทรราชวงศา (เจ้าคำสิงห์) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรคนแรก (พ.ศ. 2357-2366) ให้เจ้าสีชาเป็นเจ้าอุปราช ให้เจ้าบุตร (บุตรเจ้าคำสิงห์) เป็นเจ้าราชวงศ์ ให้เจ้าเสน (บุตรเจ้าพระวอ)เป็นเจ้าราชบุตร พระราชทานเครื่องประกอบยศเจ้าผู้ครองเมืองดังนี้ พานหมากเงินถมทองปากจำหลัก ลายกลีบบัว เครื่องในทองคำ กระโถนเงินถมทอง ลูกประคำทองคำ 1 สาย สัปทนปัศตู 1 คัน กระบี่บั้งทองคำ 1 เล่ม เสื้อทรงประหาส หมวกตุ้มปี่ ปืนชนวนทองแดงเลี่ยมเงิน 1 กระบอก และอื่นๆ ตามสมควร และให้อาณาเขตเมืองยศสุนทรทิศเหนือจรดภูสีฐานด่านเมยถึงยอดยัง ทิศใต้จรดห้วยก้ากว้าก ทิศตะวันออกถึงบ้านคำพระมะแงลำน้ำเซ ทิศตะวันตกจรดห้วยไส้ไก่วังเจ็ก ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจรดห้วยตาแหลว ให้เมืองยศสุนทรส่งส่วยบำรุงราชการของหลวงคือ น้ำรักสองเลขต่อเบี้ย ป่านสองเลขต่อขวด และพระสุนทรราชวงศา (เจ้าคำสิงห์) ได้ให้ไพร่พลก่อสร้างฉางข้าว สร้างที่ว่าการเมือง สร้างท้องพระโรง (โฮงคำ) และปกครองเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดสมัย จนถึงแก่พิลาลัย ในปี พ.ศ. 2366 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปราชสีชาขึ้นเป็นที่พระสุนทรราชวงศา (เจ้าสีชา) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 2 แต่ท่านครองเมืองได้เพียง 3 เดือนก็ถึงแก่พิลาลัย

ในระหว่าง พ.ศ. 2369 เกิดสงครามเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์กับกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ เป็นแม่ทัพที่ 1 ยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าอนุวงศ์ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกกองทัพหน้ามาตั้งที่เมืองยศสุนทร เจ้าฝ่ายบุตพร้อมกับเจ้าสุวอธรรมา (บุญมา) (ต่อมาได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายคนแรก) และเจ้าเคน บุตรชายของเจ้าสุวอธรรมา (บุญมา) ได้นำกองกำลังเมืองยศสุนทรเข้าร่วมกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดียกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครเวียงจันทน์ได้สำเร็จ พระยาราชสุภาวดีจึงกราบบังคมทูลความดีความชอบของเจ้าฝ่ายบุต

พ.ศ. 2370 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าฝ่ายบุตเป็นที่พระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชวงศ์เวียง ดำรงรักษ์ภักดียศฦๅไกร ศรีพิไชยสงคราม หรือ พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 3 (พ.ศ. 2370-2400) พร้อมพระราชทานพระพุทธรูปสำคัญคือ พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือ พระแก้วหยดน้ำค้าง อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองยโสธรในปัจจุบัน , พระราชทานเชลยศึกจากนครเวียงจันทน์ จำนวน 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองยศสุนทร 1 กระบอก อันมีชื่อว่า "ปืนนางป้อง" ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเจ้าฝ่ายบุตได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแล้ว ได้ให้ไพร่พลนำหินศิลาจากบ้านแก้งหินโงม มาสร้างพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานที่มณฑปวัดป่าอัมพวัน สร้างวัดขึ้นที่ท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำชี เรียกว่า วัดท่าแขก (หรือวัดศรีธรรมารามในปัจจุบัน) และสร้างวัดขึ้นที่กลางเมือง เรียกว่า วัดกลางศรีไตรภูมิ ไว้เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสืบมา

พ.ศ. 2373 พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) พร้อมด้วยเจ้าอุปราชแพง เจ้าราชวงศ์สุดตา เจ้าราชบุตรอินทร์ แลกรมการเมืองยศสุนทรก่อสร้างอูบมุงครอบรอยพระพุทธบาท ณ บริเวณลานที่ตั้งค่ายพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ไว้เป็นที่ระลึกถึงชัยชนะเหนือนครเวียงจันทน์คราวนั้น ให้ชื่อว่า วัดชุมพลชัยชนะสงคราม (ปัจจุบันคือวัดทุ่งสว่างชัยภูมิ)

พ.ศ. 2378 เมื่อพระบรมราชา (มัง) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนมได้หลบหนีไปกับเจ้าอนุวงศ์ แล้วพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น) จึงได้มอบหมายให้พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) ขึ้นไปเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครพนมอีกตำแหน่งหนึ่ง ส่วนทางเมืองยศสุนทรให้เจ้าอุปราชแพง แลกรมการเมืองยศสุนทรปกครองดูแลแทน

พ.ศ. 2400 พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) ได้ถึงแก่พิราลัย ยังแต่พระศรีวรราช (เจ้าเหม็น) บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) แลกรมการช่วยกันดูแลราชการบ้านเมืองอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีวรราช (เจ้าเหม็น) บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) เป็นที่พระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชดำรงศักดิยศฤๅไกร ศรีพิไชยสงคราม เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 4 (พ.ศ. 2400-2420) พระราชทานเครื่องยศประกอบเจ้าผู้ครองเมืองดังนี้ พานหมากเงินกลมถมทอง เครื่องในทองคำยวง คณโฑทองคำ กระโถนเงินถม ประคำทองคำ 1 สาย กระบี่บั้งทองคำ สัปทน ปัศตู เสื้อกำมะหยี่ หมวกตุ้มปี่ ปืนชนวนทองแดง ต้นเหลี่ยมเงิน เสื้อเข้มขาบริ้วดี เสื้อแพรจีนจาว แพรสีทับทิมติดขลิบ ส่านไทยปักทอง ผ้าลายเกี้ยว ผ้าปูมเขมร ผ้าขาวหงินไก่ และผ้าขาวโล่

พ.ศ. 2416 พระสุนทรราชวงศา (เจ้าเหม็น) พระศรีรราชสุพรหม ผู้เป็นบุตร พร้อมด้วยญาติวงศ์ แลไพร่พลได้พร้อมกันปฏิสังขรณ์วัดท่าแขกที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าฝ่ายบุต แล้วนิมนต์พระเกตุโล (เกตุ) จากวัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาส พร้อมตั้งวงศ์ธรรมยุติกนิกายในเมืองยศสุนทรเป็นครั้งแรก และให้ชื่อวัดใหม่ว่า "วัดศรีธรรมารามหายโศรก" (วัดศรีธรรมาราม) พระเกตุโล (เกตุ) ยังเป็นพระภิกษุที่ได้รับการอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ จึงเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับว่าวัดศรีธรรมารามหายโศรกเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของเมืองยศสุนทร ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เขียนและเรียกชื่อเมืองยศสุนทร ว่า ยศโสธร หรือหากเรียกเพียงสั้นๆ ก็จะเป็นเมืองยศๆ และได้แปรเปลี่ยนมาเป็น ยโสธร

 

สมัยปฏิรูปประเทศ

พ.ศ. 2417 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เกิดศึกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองหนองคาย กองกำลังเมืองยศสุนทรถูกเกณฑ์ให้ไปสมทบกองทัพจากกรุงเทพฯ กำลังพล 500 คน โดยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น) เป็นแม่ทัพเข้าปราบปราม

พ.ศ. 2420 พระสุนทรราชวงศา (เจ้าเหม็น) ได้ประชวรและถึงแก่พิราลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2421 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระศรีวรราชสุพรหม บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าเหม็น) เป็นที่พระสุนทรราชวงศา (เจ้าสุพรหม) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 5 (พ.ศ. 2420-2429) และใน พ.ศ. 2423 หลวงจุมพลภักดี นายกอง บุตรหลานของเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ไปตั้งบ้านบึงโดนขึ้นแขวงเมืองยศสุนทร ซึ่งพระสุนทรราชวงศา (เจ้าเหม็น) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรคนก่อนได้ตั้งให้เป็นกรมการเมืองยศสุนทรนั้น จะขอทำส่วยผลเร่วแยกจากเมืองยศสุนทรขึ้นต่อกรุงเทพฯ โดยตรง แต่ฝ่ายพระสุนทรราชวงศา (เจ้าสุพรหม) เจ้าผู้ครองเมืองไม่ยอมตามหลวงจุมพลภักดีๆ มีความขุ่นเคืองจึงเอาบัญชีรายชื่อตัวเลขไปสมัครขึ้นกับพระราษฎรบริหาร เจ้าเมืองกมลาไสย และมีใบกราบบังคมทูลขอตั้งบ้านบึงโดนขึ้นเป็นเมือง ขอตั้งหลวงจุมพลภักดีเป็นเจ้าเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านบึงโดนขึ้นเป็นเมืองเสลภูมินิคม ให้หลวงจุมพลภักดีเป็นพระนิคมบริรักษ์ เจ้าเมืองเสลภูมินิคม ให้ท้าวสุริยะเป็นอัคฮาด ให้ท้าวผู้ช่วยเป็นอัควงษ์ ท้าวสุทธิสารเป็นอัคบุตร รักษาราชการเมืองเสลภูมินิคมขึ้นกับเมืองกมลาไสย

พ.ศ. 2426 พวกฮ่อได้ยกกำลังมาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เมืองยศสุนทรได้รับเกณฑ์ให้เอากำลังช้างม้าโคต่าง ๆ ไปเป็นพาหนะบรรทุกเสบียงไปเลี้ยงกองทัพ ต่อมาใน พ.ศ. 2429 พระสุนทรวรราชวงศา (เจ้าสุพรหม) ได้ถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปราช (แก) เป็นที่พระสุนทรราชเดช เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองยโสธรคนแรก (พ.ศ. 2430-2438)

พ.ศ. 2433 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบเมืองประเทศราชมาเป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมืองอุบลราชธานีเป็นเมืองเอก มีเมืองขึ้น 41 เมือง ประกอบด้วยหัวเมือง 12 หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ หนองสองคอนดอนดง และศรีสะเกษ และเมืองยโสธรจึงจัดอยู่ใน 41 เมืองดังกล่าวด้วย

ปี พ.ศ. 2436 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว โปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิทักษ์สุเทพ ข้าหลวง ท้าวไชยกุมาร เมืองอุบลราชธานี ขึ้นมาจัดราชการเมืองยโสธร แล้วเจ้าอุปราชแก เจ้าราชบุตรหนู พระศรีวรราช ท้าวสิทธิกุมาร ต่อมาคือพระอุบลศักดิ์ประชาบาล (กุคำ สุวรรณกูฏ) ผู้ที่รับหน้าที่เจ้าราชวงศ์ จึงพร้อมด้วยหลวงพิทักษ์สุเทพ ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพพระสุนทรราชวงศา (เจ้าสุพรหม) เมื่องานพระราชทานเพลิงศพฯ เสร็จลง เมืองยโสธรก็ว่างเว้นจากเจ้าผู้ครองเมือง เหลือแต่เจ้าอุปราชแก เจ้าราชบุตรหนู รับราชการกับหลวงพิทักษ์สุเทพ ในปีนี้เองเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ยกกำลังจากเมืองญวนมาตีเมืองสมโบกของไทย ฝ่ายเมืองยโสธรได้ถูกเกณฑ์กำลังทหารไปสมทบกองทัพจากกรุงเทพฯ ทั้งสามกองทัพ กองทัพละ 1,000 คน จำนวน 1,000 นาย โดยมีหลวงพิทักษ์สุเทพ เป็นนายคุมทัพไป

พ.ศ. 2437 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จขึ้นมาเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ประดับที่เมืองอุบลราชธานี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้นายร้อยโทสอน เป็นข้าหลวงมาจัดราชการเมืองยโสธร แล้วให้เจ้าอุปราชแกเป็นที่พระสุนทรราชเดช ให้เจ้าราชบุตรหนูเป็นเจ้าราชวงศ์ และหลวงศรีวรราช (แข้) เป็นเจ้าราชบุตร

พ.ศ. 2438 พระสุนทรราชเดชได้ถึงแก่อนิจกรรมลง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นายร้อยโทสอน เป็นขุนรานนฤพล ผู้ว่าราชการเมืองยโสธร คนที่ 2 และ พ.ศ. 2440 ขุนรานนฤพลก็ถึงแก่กรรมลงอีก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงศรีวรราช (แข้ ปทุมชาติ) เป็นพระสุนทรราชเดช ผู้ว่าราชการเมืองยโสธร คนที่ 3 (พ.ศ. 2440 - 2455)

พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองยโสธร โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชวงศ์ทองดี เป็นหลวงยศไกรเกรียงเดช (ทองดี ต้นสกุลโพธิ์ศรี) เป็นยกบัตรเมือง 4. ท้าวโพธิสาร (ตา ต้นสกุลไนยกุล) เป็นหลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ เป็นนายอำเภออุทัยยะโสธร 5. ท้าวสิทธิสาร (สมเพศ) เป็นหลวงยศวิทยธำรง ผู้ช่วย 6. เมืองจันทร์ (ฉิม) เป็นหลวงยศเขตรวิมลคุณ มหาดไทย เป็นนายอำเภอปจิมยะโสธร

พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองยโสธรจึงถูกจัดอยู่ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งกองบัญชาการมณฑลที่เมืองอุบลราชธานี (บริเวณอุบลราชธานี) ต่อมา พ.ศ. 2445 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ โปรดเกล้าฯ ให้ซานนท์ (ชาย) เป็นหลวงยศอดุลพฤฒิเดช เป็นตำแหน่งพลเมือง

วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2449 เวลาย่ำรุ่ง 20 นาที พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ทรงเสด็จจากที่ประทับแรมพลับพลาบ้านนากอก แขวงเมืองมุกดาหาร ข้ามป่าดงบังอี่มายังเมืองยโสธร เวลาเช้า 5 โมงถึงตำบลกุดเชียงหมี ระยะทาง 180 เส้น มีที่พักแรม รวมระยะทางวันนี้ 480 เส้น มีข้าราชการมณฑลอีสานมารับคือ หลวงสถานบริรักษ์ กรมวัง และพระอุบลเดชประชารักษ์ ปลัดรักษาราชการเมือง พระอุบลศักดิ์ประชาบาล ยกกระบัตรเมืองอุบลราชธานี และกรมการอำเภอต่างๆ หลายนาย

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2449 เวลาย่ำรุ่งออกจากที่พักแรมตำบลกุดเชียงหมี ข้ามลำน้ำเซแดนเมืองเสนางคนิคมกับแดนเมืองยโสธรต่อกัน แล้วเข้าทางเขตบ้านฮ่องแซง (ตำบลห้องแซง) ถึงปากดงภูสะมากัง หรือบ้านคำบอน เวลาเช้าโมงครึ่งกับ 25 นาที ระยะทาง 258 เส้นมีที่พักร้อน ชาวบ้านมาหา ซึ่งชาวบ้านนี้เป็นผู้ไทยเดินมาจากเมืองตะโปน เวลาเช้า 3 โมงครึ่ง เดินทางต่อมาเข้าดงสะมากัง เป็นดงมีไม้งาม ๆ และมีไม้ยมผาอย่างไม้ทำหีบบุหรี่ฝรั่ง เป็นดงเล็กกว่าดงบังอี่ และหนทางเรียบร้อยดี เวลาเช้า 5 โมงพ้นดงสะมากัง ถึงที่พักแรมตำบลบ้านส้มพ้อ (ตำบลส้มผ่อ) ระยะทาง 260 เส้น รวมระยะทางวันนี้ 516 เส้น นายร้อยเอกหลวงสมรรถสรรพยุทธ ข้าหลวงโยธามณฑลอีสานมาคอยรับ

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2449 เวลาย่ำรุ่งออกจากที่พักแรมบ้านส้มพ้อมาตามเขตบ้านนาฮีแล้วเข้าเขตบ้านคำไหล ระยะทาง 306 เส้น ถึงที่พักร้อนเวลาเช้าโมงหนึ่งกับ 45 นาที เวลาเช้า 3 โมงออกจากที่พักร้อนออกจากเขตบ้านคำไหลเข้าเขตบ้านตาสืม แล้วถึงบ้านนาซึมที่พักแรมเวลาเช้า 3 โมง 50 นาที ระยะทาง 211 เส้น รวมระยะทางวันนี้ 515 เส้น

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2449 เวลาย่ำรุ่งออกจากที่พักแรมบ้านนาซึมทางมาเป็นโคกไม้เล็ก ๆ หนทางที่ตัดแลดูแต่ไกลเห็นทิวไม้สองข้างทางข้างหน้าซึ่งงามดี และที่ริมหนทางที่มามีที่นาดี ๆ เป็นอันมาก เมื่อเวลาออกจากบ้านนาซึมเข้าเขตบ้านนาโป่ง และบ้านเผือฮี มีสระน้ำริมทางแล้วเข้าเขตบ้านนาซวยใหญ่ บ้านนาซวยน้อย ถึงบ้านนาสีนวลที่พักร้อนเวลาเช้า 2 โมง ระยะทาง 377 เส้น เวลาเช้า 3 โมง ออกจากบ้านนาสีนวล พ้นเขตบ้านนาสีนวลมาเข้าเขตบ้านหนองสรวง บ้านหนองแวง และบ้านคำหม้อ ถึงเมืองยโสธร เวลาเช้า 4 โมงครึ่ง ระยะทาง 266 เส้น รวมระยะทางวันนี้ 643 เส้น มีหลวงศรีวรราช (แข้) ผู้ว่าราชการเมืองยโสธร หลวงยศไกรเกรียงเดช (ทองดี) ยกกระบัตร และกรมการเมืองคอยรับอยู่ ในการที่มามณฑลอีสานคราวนี้ อยากจะไปเฝ้ากรมขุนสรรพสิทธิที่เมืองอุบล แต่เป็นการขัดข้องด้วยข้าหลวงปักปันแดนกับฝรั่งเศสจะประชุมกันที่เมืองอุบล กรมขุนสรรพสิทธิท่านทรงติดพระธุระกับแขกเมือง จะไปเพิ่มความลำบากถวายหาควรไม่ จึงกะทางหลีกมาเสียเมืองยโสธรห่างเมืองอุบลอยู่ 2 วัน ฝ่ายกรมขุนสรรพสิทธิเดิมก็จะเสด็จมาพบที่เมืองยโสธร แต่เผอิญเวลานี้ข้าหลวงปักปันเขตแดนอยู่ที่เมืองอุบลราชธานีจึงเสด็จมาไม่ได้ ได้แต่สนทนากันโดยทางโทรศัพท์ เวลาบ่าย 4 โมงไปที่วัดพระธาตุ มีพระเจดีย์เก่าเป็นรูปปรางค์องค์หนึ่ง พระครูยโสธราจารย์เป็นเจ้าอาวาส และไปวัดสิงทาและวัดธรรมหายโศก ที่วัดธาตุและวัดธรรมหายโศกมีนักเรียนร้องคำชัยมงคล ทำนองสรภัญญะ ซึ่งพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลได้เรียบเรียงส่งมา แลวัดธรรมหายโศกเป็นวัดธรรมยุติกา เวลาค่ำ มีหลวงเถกิงรณกาจ ผู้บังคับการตำรวจภูธร ได้จัดแคนวงกรมตำรวจภูธรมณฑลอีสานมาเล่นเวลากินด้วย

วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2449 เวลาเช้าโมงหนึ่ง ไปดูตลาดและหมู่บ้านในเมืองยโสธร ๆ นี้ตั้งอยู่บนเนินใกล้ลำน้ำพาชีที่ว่าใกล้นี้มิใช่ริมน้ำอย่างเมืองที่ตั้งตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลำน้ำทางมณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดร อีสาน เช่น ลำน้ำพาชีนี้เป็นต้นน้ำไหลลงแม่น้ำโขง เวลาฤดูฝนน้ำในแม่น้ำโขงมาก น้ำในลำน้ำเหล่านี้ไหลลงแม่น้ำโขงไม่ได้ก็ท่วมตลิ่งที่ลุ่มเข้าไปลึก ๆ บ้านเรือนต้องตั้งพ้นที่น้ำท่วมจึงมักอยู่ห่างตลิ่ง แต่เมื่อฤดูแล้งน้ำลดแห้งขอดก็กลายเป็นอยู่ดอน หาน้ำยากเป็นอย่างนี้แทบทั้งนั้น เว้นแต่บางแห่งเช่นเมืองอุบลเพราะที่ริมแม่น้ำมูลตรงนั้นเป็นที่ดอน เมืองจึงอยู่ชิดลำน้ำ ที่เมืองยโสธรนี้มีถนนใหญ่เป็นทางสี่แยก ริมถนนใหญ่เป็นทางสี่แยก ริมถนนใหญ่มีร้านเป็นตึกดินอย่างโคราช มีพ่อค้าจีนและพ่อค้าไทยมาจากโคราชตั้งขายของต่าง ๆ ซึ่งนำมาจากเมืองนครราชสีมามากร้านด้วยกัน และมีผ้าม่วงหางกระรอกและโสร่งไหมซึ่งทำในพื้นเมืองมาขายบ้างบางร้านหมู่บ้านราษฎรก็แน่นหนา มีจำนวนพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน มีถนนเล็ก ๆ เดินถึงกันในหมู่บ้าน แต่เป็นที่มีฝุ่นมาก สินค้าพื้นเมืองยโสธรส่งไปขายเมืองนครราชสีมา มีหนัง เขา เร่ว ครั่ง และไหม ได้ความว่าใน ๕ ปีมานี้สินค้าไหมทวีมากขึ้น สินค้าฝั่งซ้ายมาทางเมืองมุกดาหารมาขายถึงเมืองยโสธร มียางกะตังกะติ้วบ้าง และยางกะตังกะติ้วนี้ได้มาจากเมืองหนองสูงข้างฝั่งขวาก็มี และ มีพ่อค้าซื้อโคกระบือไปขายคราวหนึ่ง ตั้งแต่ 400 ถึง 500 บ้าง ลงทางดงพระยาไฟไปขายที่ปากเพรียวทางหนึ่ง ลงทางดงพระยากลางไปขายที่อำเภอสนามแจงแขวงเมืองลพบุรีทางหนึ่ง ลงทางช่องตะโกไปขายที่เมืองพนัสนิคม พนมสารคามและเมืองนครนายกทางหนึ่ง แต่เดิมลงทางช่องเสม็ด แต่เดี๋ยวนี้ใช้ลงทางช่องตะโก เพราะเป็นทางสะดวกกว่า พ่อค้าที่ไปปากเพรียวนำกระบือลงไปขายเป็นพื้น พ่อค้าที่ไปสนามแจงนำโคลงไปขาย พ่อค้าที่ไปมณฑลปราจีนบุรีมีกระบือ และโคคละไปด้วยบ้าง ฟังดูตามเสียงพ่อค้าว่าการนำโคลงไปขาย ได้กำไรมากกว่ากระบือเพราะโคเลี้ยงง่าย กระบือเมื่ออดน้ำมักจะเป็นอันตรายตามทาง เวลาเช้า 4 โมงครึ่งมีการประชุมบายศรี ผู้เฒ่าคนหนึ่งกล่าวคำชัยมงคลเป็นทำนองไพเราะ และวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2449 เวลาย่ำรุ่ง เสด็จออกจากที่พักแรมเมืองยโสธรไปยังเมืองเสลภูมิ

พ.ศ. 2452 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบอำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอปจิมเขมราฐ โดยให้รวมกับอำเภออุไทยเขมราฐ พร้อมกันนั้นก็ให้ยุบเมืองเขมราฐ ส่วนอำเภอที่อยู่ในเขตการปกครองเมืองเขมราฐ ก็ให้มารวมอยู่ในเขตการปกครองของเมืองยโสธร เมืองยโสธรจึงมีอำเภอในเขตการปกครองรวม 6 อำเภอ ได้แก่

  • อำเภออุไทยยะโสธร มีท้าวสิทธิกุมาร (ทุม) เป็นนายอำเภอ
  • อำเภอปจิมยะโสธร มีท้าวอุเทนวงษา (เขียน) เป็นนายอำเภอ
  • อำเภออุไทยเขมราฐ มีหลวงเขมรัฐการอุตส่ห์ (แสง) เป็นนายอำเภอ
  • อำเภออำนาจเจริญมีราชวงศ์ (ซาว) เป็นนายอำเภอ
  • อำเภอโขงเจียมมีท้าวบุญธิสาร (คำบ่อ) เป็นนายอำเภอ
  • อำเภอวารินทร์ชำราบ มีอุปราช (บุญ) เป็นนายอำเภอ

จึงเป็นปีที่เมืองยโสธรมีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่ และมีจำนวนอำเภอมากที่สุด

พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบอำเภอวารินทร์ชำราบอันอยู่ในเขตการปกครองของเมืองยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยให้ท้องที่ตำบลต่างๆ ไปรวมกับอำเภอพิมูลมังษาหาร และส่วนหนึ่งไปรวมกับอำเภอบูรพาอุบล (อำเภอเมืองอุบลราชธานี)

พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกมณฑลอีสาน เป็น 2 มณฑล คือ มณฑบลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด โดยกำหนดให้มณฑลอุบลราชธานี มี 3 จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขุขันธ์ และจังหวัดสุรินทร์ ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเมืองให้เรียกเป็นจังหวัดแล้ว แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมืองยโสธรก็ถูกยุบไปในคราวเดียวกันนั้น ส่วนอำเภอต่างๆ ที่เคยขึ้นกับเมืองยโสธร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 ก็ถูกโอนย้ายให้อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พ.ศ. 2456 กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่ออำเภอในจังหวัดอุบลราชธานีให้เหมาะสม การนี้จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยยะโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอปจิมยะโสธร เป็นอำเภอยะโสธร

 

สมัยเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2489 นายสุวิชช์ จิตตยะโสธร คนอำเภอยะโสธรคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งอำเภอยะโสธรเป็นจังหวัดยะโสธรตามที่ได้รับปากไว้กับประชาชนชาวอำเภอยะโสธรในขณะที่หาเสียง แต่ปรากฏว่าไม่สำเร็จเพราะมีกระแสคัดค้านไม่ให้แยกออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และได้มีการปฏิวัติเกิดขึ้น

พ.ศ. 2494 นายดิเรก มณีรัตน์ (เขยเมืองยศ) ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้พยายามดำเนินการขอจัดตั้งจังหวัดยะโสธร และกระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยะโสธรขึ้นเป็นจังหวัดครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากฝ่ายใด

ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2500–2513 ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอยะโสธร เห็นว่าคำว่า "ยะโสธร" อันมีความหมายว่า "ทรงไว้ซึ่งยศ" แต่การเขียนหรือการเรียกสั้นๆ ว่า เมืองยะโส พูดแล้วฟังดูไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม จึงได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่ออำเภอเสียใหม่เป็น "ยโสธร" และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้

พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิติขจร ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดยโสธรที่ค้างคาอยู่ ออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 โดยได้แยกอำเภอต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีเดิม 6 อำเภอ คือ อำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว รวมเข้าเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นต้นไป และแต่งตั้งนายชัยทัต สุนทรพิพิธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

ศาลากลางจังหวัดยโสธรตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ณ ละติจูด 15° 47´.6 เหนือ ลองจิจูด 104° 08´.7 ตะวันออก และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร
  • ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด

 

การปกครองแบ่งออกเป็น อำเภอ 78 ตำบล 835 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองยโสธร
อำเภอทรายมูล
อำเภอกุดชุม
อำเภอคำเขื่อนแก้ว
อำเภอป่าติ้ว
อำเภอมหาชนะชัย
อำเภอค้อวัง
อำเภอเลิงนกทา
อำเภอไทยเจริญ

 

จดทะเบียนบริษัทกับเราวันนี้

เว็บไซต์บริษัท, หน่วยงาน ราคาพิเศษ

ฟรี! อบรมบัญชี และภาษี

ฟรี! อีเมลภายใต้ชื่อโดเมน
*** โปรดสอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม 083 622 5555

บริการด้านอื่นๆของเรา

  • ให้คำปรึกษาปัญหาภาษีอากร
  • ให้คำปรึกษา ปัญหาด้านกฎหมาย
  • ให้คำปรึกษา ด้านแหล่งเงินทุน การเขียนโครงการเพื่อยื่นกู้
  • ให้คำแนะนำวิธีการบัญชี เพื่อผลด้านภาษีอากรที่ดีและถูกต้อง
  • ให้คำแนะนำระบบบัญชี เอกสารเบื้องต้นที่จำเป็นในการบันทึกบัญชี
  • ให้คำปรึกษา ด้านการตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ วิเคราะห์คู่แข่งทางการค้า
  • ให้คำปรึกษา เรื่องเอกสารการออกบิล การทำสต๊อกสินค้า การจัดเก็บเอกสาร
  • ให้คำปรึกษา ด้านทำเล จัดหาที่จดตั้งบริษัท รับแฟ็ก ส่งเอกสาร วางบิล เก็บเช็ค

ดื่มเพื่อความสำเร็จที่ "Chonlatee Coffee"

Chonlatee Coffee Service
  • รับติดตั้งระบบร้านกาแฟ
  • รับแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการร้านกาแฟ
  • บริการกาแฟสดนอกสถานที่
  • รับผลิตเมล็ดกาแฟ (OEM)
ธุรกรรมของคุณ
  • จดทะเบียนบริษัท-ห้างหุ้นส่วน
  • จัดทำ-วางระบบบัญชี
  • ปิดงบการเงิน
  • ขอใบอนุญาต
  • ที่ปรึกษาทางธุรกิจ
chonlatee coffee

3/1 และ 3/2 ซอยรามคำแหง 164 แยก 3 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม.10510
Mobile : 062-632-5555, 061-938-5555, 062-938-5555
Line : @chonlateecoffee
CoffeeDriveThru : @chonlateedrivethru
Setup Coffee Shop : @chonlateecoffeesetup
E-mail : [email protected]